A bullet hole is pictured as military personnel inspect the site of multiple bomb and gun attack at Cho-airong District in the troubled southern province of Narathiwat, Thailand 14 March 2016. REUTERS/Surapan Boonthanom Report 304 / Asia 21 January 2020 กระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้: ให้กรอบและเนื้อหาสาระเข้มแข็ง กระบวนการพูดคุยสันติภาพเพื่อยุติการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทยประสบอุปสรรคต่างๆ หลายต่อหลายครั้ง รวมถึงการที่องค์กรผู้ก่อความไม่สงบหลักไม่ยอมเข้าร่วมในกระบวนการดังกล่าว แต่หลังจากมีการแต่งตั้งหัวหน้าคณะพูดคุยคนใหม่และการเชิญชวนให้องค์กรนั้นเข้าร่วมกระบวนการอีกครั้ง ทั้งสองฝ่ายก็ควรหยุติการต่อต้านต่างๆ ที่เคยเป็นอุปสรรคสำหรับความคืบหน้าของกระบวนการสันติภาพ Share Facebook Twitter Email Linkedin Whatsapp Save Print Download PDF Full Report Also available in Bahasa Melayu ภาษาไทย Bahasa Melayu English บทสรุปผู้บริหาร ตั้งแต่การเริ่มต้นเมื่อหกปีที่แล้ว กระบวนการพูดคุยระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่ม มาราปาตานี ซึ่งเป็นองค์กรร่มสำหรับขบวนการแบ่งแยกดินแดนมลายูมุสลิมจากภาคใต้ของประเทศไทย ยังไม่ได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในกระบวนการนี้ มีประเทศมาเลเซียทำหน้าที่เป็นผู้อำนายความสะดวก แต่ก็ยังต้องประสบปัญหาต่างๆ อาทิ ความไม่ไว้ใจซึ่งกันและกันระหว่างทั้งสองฝ่าย ความขัดแย้งภายในของแต่ละฝ่าย และทั้งสองฝ่ายก็ยังขาดความแน่วแน่เพื่อจะนำความเปลี่ยนแปลต่างๆ ที่เอื้อต่อการสร้างสันติภาพด้วย นอกจากนี้ กลุ่มติดอาวุธหลัก ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (บีอาร์เอ็น) ก็ยังปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกระบวนการพูดคุย ส่วนฝ่ายไทยพยายามจะหาช่องทางการสื่อสารโดยตรงกับองค์กรดังกล่าวอย่างลับๆ ซึ่งอาจจะเป็นความหวังใหม่สำหรับการพูดคุยที่มีนัยสำคัญ แต่ความพยายามครั้งนี้ก็ต้องประสบกับปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับวิธีการ สำหรับความคืบหน้าของกระบวนการพูดคุย ฝ่ายผู้วางนโยบายของรัฐไทยจำเป็นต้องลดความรังเกียจที่มีต่อการกระจ่ายอำนาจ และควรพิจารณาประโยชน์ที่จะได้จากการไกล่เกลี่ยโดยสังคมนานาชาติด้วย ส่วนฝ่ายบีอาร์เอ็นก็ต้องไม่ลังเลที่จะเข้าร่วมกระบวนการพูดคุย และนำเสนอประเด็นต่างๆ ให้ชัดเจน ถึงแม้ว่าประเทศมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวกที่สำคัญ แต่เนื่องจากประเทศดังกล่าวมีส่วนร่วมในความขัดแย้งมาก จึงถึงถูกมองว่าเป็นฝ่ายที่ไม่เป็นกลางแล้ว ดังนั้นควรจะมีพื้นที่สำหรับตัวละครจากสังคมนานาชาติมีบทบาทในการไกล่เกลี่ยด้วย ความขัดแย้ง ณ จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ได้คร่าชีวิตกว่า 7, 000 คน ตั้งแต่ขบวนการแบ่งแยกดินแดนปรากฏตัวขึ้นมาใหม่เมื่อต้นปี ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) ฝ่ายกบฏ ซึ่งมาจากขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อทศวรรษ 1960 (ค.ศ. 2503-2503) มองว่าการสู้รบของพวกเขาเป็นการต่อสู้เพื่อต่อต้านการปกครองแบบอาณานิคมโดยประเทศไทยซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ตั้งแต่ภูมิภาคแห่งนี้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยเมื่อต้นสตวรรษที่ 20 ถึงแม้ว่าระดับการใช้ความรุนแรงลดลง และจำนวนผู้ได้รับความเสียหายก็ค่อยๆ น้อยลงในระยะเวลาสามปีที่ที่ผ่านมา แต่ฝ่ายกบฏก็ยังห่างไกลจากความพ่ายแพ้ ยังสามารถก่อเหตุต่างๆ ที่สร้างความเสียหายได้ รวมถึงการก่อเหตุนอกพื้นที่ด้วย ในขณะเดียวกัน กระบวนการพูดคุยก็ยังขาดแรงขับเคลื่อนเพื่อคืบหน้าต่อไป แต่ต้องปัญหาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งภายในของคู่กรณีแต่ละฝ่าย ความไม่มั่นใจจากทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับประสิทธิพลของกระบวนการพูดคุย และโครงสร้างการพูดคุยที่ไม่เอื้อต่อการเจรจาที่มีความหมาย ปัญหาความขัดแย้งภายในของทั้งสองฝ่ายก็ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของบุคคลที่มีส่วนร่วมในการพูคุยด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยอธิบายว่า การที่มีเจ้าหน้าที่บางส่วนพยายามจะหาช่องทางการสื่อสารโดยตรงกับบีอาร์เอ็นนั้นส่งผลกระทบต่อการทำงานของคณะพูดคุย ส่วนฝ่าบีอาร์เอ็นก็ยังอยู่ห่างไกลจากกระบวนการพูดคุย แต่เรียกร้องให้มีการออกแบบการพูดคุยร่วมกันระหว่างบีอาร์เอ็นกับประเทศไทย โดยมีคนกลางที่ไม่เข้าข้าง และมีผู้สังเกตการณ์จากสังคมนานาชาติด้วย ซึ่งข้อเรียกร้องเหล่านี้ไม่สอดคล้องกับทัศนคติของรัฐบาลไทยและมาเลเซีย เพราะสำหรับรัฐบาลไทยแล้ว การมีส่วนร่วมของสังคมนานาชาติอาจจะนำไปสู่การยกระดับของฝ่ายขบวนการและการแทรกแซงจากภายนอกด้วย ส่วนรัฐบาลมาเลเซียก็ยังต้องการจะรักษาสถานะเป็นผู้อำนวยความสะดวกต่อไป เพื่อบรรลุผลสำเร็จ กระบวนพูดคุยจำเป็นต้องมีการริเริ่มใหม่ เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) รัฐบาลไทยได้แต่งตั้งหัวหน้าคณะพูดคุยคนใหม่ ซึ่งอาจจะถือว่าเป็นนิมิตใหม่ก็ได้ หัวหน้าคณะพูดคุยคนใหม่ พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ ได้เรียกร้องผ่านสื่อให้บีอาร์เอ็นเข้าร่วมในการพูดคุย และถ้าหากว่ากลุ่มดังกล่าวตกลงที่จะเข้าร่วมการพูดคุย ทั้งมาราปาตานีและมาเลเซียก็ไม่ควรจะต่อต้าน การมีส่วนร่วมของกลุ่มดังกล่าวอย่างสมัครใจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการสันติภาพที่น่าเชื่อถือ กลุ่มดังกล่าวควรจะเปลี่ยนท่าที่ที่มีต่อการมีส่วนร่วมในกระบวนการพูดคุย และจำเป็นต้องนำเสนอภาพอนาคตที่ต้องการสำหรับภูมิภาคแห่งนี้รอย่างชัดเชนด้วย ฝ่ายรัฐบาลไทยก็ควรลดการต่อต้านต่อผู้สังเกตการณ์นานาชาติในกระบวนการพูดคุย และทั้งรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซียก็ควรยอมรับการไกล่เกลี่ยของฝ่ายที่สามที่เป็นกลางด้วย ในสุดท้าย บรรดาผู้วางนโยบายจากคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายก็ควรตระหนักถึงความรับผิดชอบที่มีต่อประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้เพื่อให้ความขัดแย้งที่สร้างความเสียหายมหาศาลมาเป็นสิบห้ากว่าปีนี้ได้สิ้นสุด กรุงเทพฯ /บรัสเซลส์ 21 มกราคม 2563 Download pdf to continue reading the full report Related Tags Peace, Justice and Reconciliation Thailand More for you Report / Asia Jihadism in Southern Thailand: A Phantom Menace Also available in Bahasa Melayu, ภาษาไทย Briefing / Asia Southern Thailand’s Peace Dialogue: No Traction Also available in Bahasa Melayu, ภาษาไทย, 简体中文 and other languages