Report / Asia 3 minutes

ประสานรอยแยกในประเทศไทย

  • Share
  • บันทึก
  • พิมพ์
  • Download PDF Full Report

สรุป

การต่อสู้อันยืดเยื้อระหว่างฝ่ายชนชั้นนำกับกลุ่มที่สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกโค่นอำนาจลงส่งผลให้เกิดความแตกแยกที่รุนแรงในสังคมไทยและนำไปสู่การเผชิญหน้าทางการเมืองที่รุนแรงสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา มีผู้คนเสียชีวิตและบาดเจ็บเกือบ 2,000 ชีวิตซึ่งทำให้เกิดบาดแผลที่ร้าวลึกในความรู้สึกของคนในชาติ แผนการปรองดองแห่งชาติซึ่งเสนอโดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพียงฝ่ายเดียวไม่อาจนำไปสู่การแก้ปัญหาได้หากปราศจากการมีส่วนร่วมของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งรวมถึงอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ กระบวนการสอบสวนความรุนแรงที่น่าเชื่อถือ การปฏิรูปกฎหมายที่มีผลอย่างยั่งยืน รวมถึงการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไม่อาจเกิดขึ้นได้หากปราศจากการมีส่วนร่วมของกลุ่มคนเสื้อแดง สิ่งเหล่านี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากแกนนำคนเสื้อแดงยังคงถูกควบคุมตัว ปราบปรามหรือต้องหลบหนี บททดสอบแรกว่าประเทศนี้จะสามารถกลับคืนสู่หนทางที่ถูกต้องได้หรือไม่หรือยังคงหลงทางอยู่ที่ความสามารถที่จะจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ให้เป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย ยุติธรรม และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย รัฐบาลไทยควรยกเลิกพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีผลบังคับใช้ในหลายพื้นที่ของประเทศ  ซึ่งเสี่ยงต่อการทำลายระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งยังเป็นอุปสรรคขัดขวางการปรองดองและยังเป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความขัดแย้งที่รุนแรงต่อไปในภายภาคหน้าอีกด้วย

การเมืองไทยได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญเมื่อทักษิณซึ่งเป็นอดีตนายตำรวจและเจ้าของกิจการโทรคมนาคมได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งในปี 2544 และ 2548 ความนิยมของเขาพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่คนยากจนซึ่งได้รับประโยชน์จากโครงการประชานิยม เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ในเวลาเดียวกัน การปกครองที่ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จซึ่งมีการคอร์รัปชั่นมากขึ้นก็ทำให้ชนชั้นกลางในเมืองไม่พอใจ ส่วนชนชั้นนำฝ่ายอนุรักษ์นิยมก็กลัวว่าความนิยมในตัวทักษิณจะกลายเป็นสิ่งที่ท้าทายอำนาจของพวกเขา พลังของฝ่ายชนชั้นนำประกอบไปด้วยคณะองคมนตรี ทหาร และฝ่ายตุลาการ โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) หรือที่เรียกว่า กลุ่มเสื้อเหลือง  การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ประสานสอดคล้องกันในการขจัดทักษิณออกจากการเมืองและลดอิทธิพลของเขาลง ช่วงต้นปี 2549 กลุ่มพธม. ได้ท้าทายรัฐบาลทักษิณครั้งแรกด้วยการเดินขบวนประท้วง ต่อมาทหารก็ก่อการรัฐประหารขับไล่รัฐบาลออกไป  ศาลได้มีคำสั่งยุบพรรคไทยรักไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ในขณะที่ทักษิณลี้ภัยอยู่ต่างแดน แต่พรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นพรรคที่ตั้งขึ้นมาแทนและได้ขึ้นสู่อำนาจก็ถูกศาลสั่งยุบพรรคในช่วงปลายปีอีกเช่นกัน พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้นภายใต้แรงสนับสนุนของทหารโดยไม่ได้มีการเลือกตั้งใหม่และนายอภิสิทธิ์ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

แม้จะต้องสูญเสียอำนาจจากการรัฐประหาร แต่ทักษิณก็ยังไม่สิ้นอิทธิพล ผู้สนับสนุนของเขาเคลื่อนไหวในนามกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งการเคลื่อนไหวก็มีความกว้างขวางมากกว่าการต่อสู้เพียงเพื่อบุคคลคนเดียว กลุ่มเสื้อแดงมีแกนนำที่หลากหลาย ทั้งสมาชิกรัฐสภา นักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองและนักจัดรายการวิทยุซึ่งเป็นที่นิยม ซึ่งแกนนำเหล่านี้ก็ไม่มีเอกภาพกันเสียทีเดียว นปช. ได้รับความสนับสนุนจากคนจนทั้งในเมืองและชนบทซึ่งได้กลายเป็นพลังสำคัญที่เดินขบวนประท้วงขับไล่รัฐบาลที่ทหารแต่งตั้งขึ้นและต่อมาได้ต่อต้านรัฐบาลอภิสิทธิ์ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นนำ  ภายหลังจากที่ศาลตัดสินให้ยึดทรัพย์ของทักษิณเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ กลุ่มนปช. ก็ได้เดินขบวนอีกครั้งและเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง  การเข้ายึดพื้นที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ซึ่งเป็นย่านธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ และการบุกเข้าไปในรัฐสภาเป็นเหตุให้รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ และพื้นที่ปริมณฑลเมื่อวันที่ 7 เมษายน ซึ่งทำให้การชุมนุมประท้วงเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย  รัฐบาลได้สั่งปิดสื่อและมีการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยโดยไม่ต้องตั้งข้อหา  พ.ร.ก. ฉุกเฉินได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่อย่างกว้างขวางและปกป้องเจ้าหน้าที่จากการถูกฟ้องร้องดำเนินคดี จนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้ถูกประกาศในพื้นที่ทั้งหมด 24 จังหวัดซึ่งนับเป็นพื้นที่หนึ่งในสามของประเทศ  การปะทะกันครั้งสำคัญสองครั้งในเดือนเมษายนและพฤษภาคมและเหตุการณ์รุนแรงอีกหลายครั้งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 90 คน ก่อนที่ทหารจะเข้าสลายการชุมนุมด้วยการใช้อาวุธปืนจริง

หลังสลายการชุมนุม รัฐบาลเชื่อว่าตนเองประสบชัยชนะและสามารถฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยในบ้านเมืองได้แล้ว แต่อันที่จริงรัฐบาลประเมินความแตกแยกอันลึกซึ้งที่เกิดขึ้นจากการใช้ความรุนแรงต่ำเกินไป แผนปรองดองแห่งชาติที่รัฐบาลประกาศนั้นไม่เพียงพอ จำเป็นที่รัฐบาลจะต้องหาฉันทามติทางการเมืองครั้งใหม่โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม ต้องลดการพูดจาจ้วงจาบรุนแรงใส่กัน รวมทั้งยุติการใช้ข้อหา “ก่อการร้าย”  กับทักษิณและแกนนำ นปช. ในส่วนของแกนนำกลุ่ม นปช. พวกเขาควรประกาศอย่างเปิดเผยว่าจะไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ยอมรับบทบาทฝ่ายที่ติดอาวุธและเรียกร้องให้สมาชิกกระทำตาม  ผู้ที่ชุมนุมอย่างสันติควรได้รับสิทธิในการดำเนินการทางการเมืองกลับคืนมา การฟ้องร้องดำเนินคดีต่อพฤติการณ์ที่เป็นความผิดทางอาญาทั้งในอดีตและอนาคตควรจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน

ในระยะยาว ประเทศไทยต้องครุ่นคิดอย่างลึกซึ้งถึงการปฏิรูประบบการเมืองในระดับกว้าง  ซึ่งรวมถึงบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์และกองทัพ  จำเป็นจะต้องมีการกระจายรายได้ที่เท่าเทียม ให้ทุกฝ่ายเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเสมอภาค และมีการกระจายอำนาจมากขึ้น การสอบสวนความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะต้องกระทำอย่างเต็มที่โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปรองดอง  การเลือกตั้งครั้งใหม่ควรจะเกิดขึ้นโดยเร็วซึ่งควรจะเป็นจุดเริ่มต้น ไม่ใช่จุดสุดท้ายของกระบวนการปรองดอง โดยรัฐบาลชุดใหม่ที่มีความชอบธรรมจากฉันทามติที่ได้รับจากประชาชนและได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายจะเป็นผู้ขับเคลื่อนวาระการปฏิรูป  และเพื่อนำไปสู่จุดนั้น รัฐบาลชุดปัจจุบันจำเป็นจะต้องเลิกการดำเนินการแบบอำนาจนิยมและหันมาสู่แนวทางที่เปิดเผย เน้นการมีส่วนร่วมและเป็นประชาธิปไตยในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของชาติ

5 กรกฎาคม 2553

Executive Summary

The protracted struggle between the royalist establishment and those allied with ousted Prime Minister Thaksin Shinawatra has left Thailand deeply polarised. It sparked the most violent political confrontations in recent times, killing people, injuring nearly 2,000 and inflicting deep wounds on the national psyche. The government of Abhisit Vejjajiva’s unilateral offer of a “road map” to national reconciliation will lead nowhere without the participation of its opposition, including his deposed predecessor. A credible investigation of the violence, enduring legal reforms, and properly addressing societal inequities cannot succeed without the Thaksin-aligned Red Shirt movement. This cannot happen if its leaders are detained, marginalised, or on the run. Fresh elections that are peace­ful, fair and accepted by all sides will be the first test to see if the country is back on track or has lost its way. Thailand should lift the emergency decree imposed over large swathes of the country or risk further damaging its democracy, hindering much needed reconciliation, and sowing the seeds of future deadly conflict.

Thai politics changed significantly when Thaksin, a former policeman and telecom tycoon, won successive election landslides in 2001 and 2005. His popularity rapidly rose among the poor who benefited from his populist programs, such as low-cost health care. At the same time, his increasingly autocratic and corrupt rule angered the urban middle classes. Conservative elites also feared that his growing popularity would challenge their dominance. These establishment forces revolving around the King’s Privy Council, the military and the judiciary were supported on the streets by “Yellow Shirt” protestors. Together they worked to remove Thaksin from politics and erode his influence. In early 2006, Thaksin’s government was first challenged by mass demonstrations by the People’s Alliance for Democracy (PAD) and subsequently ousted by a military coup. While in self-imposed exile abroad, his party was disbanded by a court ruling in May 2007. A proxy party took power later that year, only to be also banned by the courts. Under military pressure and without a fresh poll, a new Democrat Party coalition led by Prime Minister Abhisit took office.

Despite losing power in such an unconstitutional manner, Thaksin was never a spent force. His supporters rallied around the United Front of Democracy Against Dictatorship (UDD) that soon became a movement larger than any one person. Led by a divided leadership of members of parliament, banned politicians and even popular radio hosts, the “Red Shirts” drew support from the urban and rural poor. They formed a pivotal force that rallied against the military-installed government and the establishment-backed Abhisit administration. After a court ordered the seizure of Thaksin’s assets in late February, the UDD again took to the streets demanding an election. Their occupation of Rachaprasong intersection in Bangkok’s business heart and storming of the parliament ultimately saw a state of emergency declared in the capital and its vicinities on 7 April, allowing authorities to ban demonstrations, shut down media, and detain suspects without charge. The draconian law, which grants officials immunity from prosecution, was later extended to cover 24 provinces by 19 May – one third of the country. Two major clashes in April and May and a few other violent incidents killed 90 before the streets were cleared in a hail of military gunfire.

In the wake of the crackdown, a triumphant government sees that it has restored order to the streets, but it under-estimates the deeper divisions this response has created. More than a “road map” to national reconciliation is needed; a new political consensus should be built with the equal involvement of all sides. Heated rhetoric needs to be toned down, including abandoning the use of the term “terrorist” to brand Thaksin and Red Shirt leaders. For their part, opposition figures should publicly renounce violence, reject armed elements, and urge their supporters to follow this lead. Those committed to peaceful protest should be given their rights back so they can again become politically active. Past and future criminal behaviour should be prosecuted in an even-handed manner.

In the long run, Thailand needs to think deeply about much broader political reforms of its system of government, including the role of the monarch and military. Wealth needs to be shared, justice delivered equitably, and power decentralised. The recent violence needs to be investigated fully as part of a reconciliation process that will allow new elections as soon as possible, with the polls being the beginning and not the end of the process. This new government, with the legitimacy of a fresh mandate and if accepted by all sides, would be the one to move forward with any agreed reform agenda. To get there, the current administration needs to turn away from authoritarianism and choose open, inclusive and democratic means to solve the nation’s problems.

Bangkok/Brussels, 5 July 2010

Subscribe to Crisis Group’s Email Updates

Receive the best source of conflict analysis right in your inbox.