Report / Asia 3 minutes

ภาคใต้ของไทย: การพูดคุยสันติภาพที่น่ากังขา

บทสรุปผู้บริหาร

ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยนั้นรุนแรงน้อยลงในรอบปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กลับมีสัญญาณที่น่าเป็นห่วงว่ากลุ่มก่อความไม่สงบได้ขยายพื้นที่ปฏิบัติการณ์ไปนอกจุดความขัดแย้งเดิมในสี่จังหวัดภาคใต้ ขบวนการแบ่งแยกดินแดนเชื้อสายมลายู-มุสลิม ได้ใช้กำลังต่อสู้กับรัฐไทยมากว่าสิบปี โดยมีเป้าหมายเพื่อปลดปล่อยชาติตนเอง การพูดคุยเพื่อสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยและผู้นำกลุ่มก่อความไม่สงบที่เริ่มขึ้นเมื่อปี 2556 กลับล้มเหลวเนื่องจากความไม่เป็นเอกภาพของทั้งสองฝ่าย และตั้งแต่การรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 เป็นต้นมา คณะรัฐประหารก็ได้มุ่งดำเนินการตามนโยบายของฝ่ายข้าราชการและทหารเป็นหลัก

แม้รัฐบาลกล่าวว่าการเจรจายังคงดำเนินอยู่ แต่รัฐบาลทหารกลับปฏิเสธการจัดสรรอำนาจแบบพหุนิยมและการอภิปรายทางการเมือง และเน้นแต่ “ค่านิยมความเป็นไทย” และ “ความเป็นเอกภาพ” ซึ่งไม่มีแนวโน้มจะลดความตึงเครียดในภาคใต้ลงได้ การแก้ไขความขัดแย้งต้องอาศัยความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ระหว่างรัฐและสังคมในพื้นที่นั้น ซึ่งเป็นไปได้มากว่าต้องมีการกระจายอำนาจทางการเมืองที่มากขึ้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรต้องเตรียมการทำงานสำหรับการเจรจาในอนาคต นั่นหมายถึงทีมเจรจาที่มีความพร้อม กระบวนการสื่อสารที่ชัดเจน และการมีส่วนร่วมจากประชาชน 
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 รัฐบาลที่นำโดยยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เริ่มการพูดคุยกับ ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (บีอาร์เอ็น) ในฐานะกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มหลัก โดยมีมาเลเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการพูดคุย แต่หลังจากจัดการประชุมร่วมไปได้สามครั้ง และก่อนที่จะเกิดมาตรการความไว้วางใจใดๆ การพูดคุยเพื่อสันติภาพที่กัวลาลัมเปอร์ก็ล้มเหลว เนื่องจากความแตกแยกภายในของทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเจรจาจะเป็นไปอย่างเร่งรีบและไม่สำเร็จ แต่มันได้เปลี่ยนพลวัตรของความขัดแย้ง เนื่องจากรัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงลักษณะทางการเมืองของกลุ่มก่อความไม่สงบ และยอมตกลงเข้าสู่การเจรจา

บีอาร์เอ็นเองก็ยอมที่จะออกจากฐานที่มั่นมาเข้าร่วมการเจรจาทางการเมือง การเจรจานี้ยังเผยให้เห็นถึงสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายต้องมีหากต้องการให้กระบวนการสันติภาพนี้สำเร็จ สำหรับฝ่ายขบวนการก่อความไม่สงบ คือศักยภาพของฝ่ายการเมืองและความเป็นเอกภาพในการเจรจา ฝ่ายไทยเองก็ขาดประสบการณ์ในการเจรจา และความแตกแยกภายในนั้นดูจะยิ่งลึกกว่า นอกจากนี้ การที่ฝ่ายทหารกังขาต่อการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ย้ำให้เห็นถึงปัญหาขั้นพื้นฐานของสถาบันทางการเมืองที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง

หลังการรัฐประหารในเดือนพ.ค. 2557 การเจรจาดังกล่าวก็ถูกทิ้งไว้อย่างค้างคา คณะรักษาความสงบแห่งชาติจัดโครงสร้างเกี่ยวกับการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ใหม่ มาตรการต่อต้านการก่อความไม่สงบที่เข้มขึ้นส่งผลให้เหตุการณ์ความรุนแรงและผู้เสียชีวิตลดลง อย่างไรก็ตาม ภาพรวมใหญ่ด้านความมั่นคงก็ใช่ว่าจะดีขึ้น ในช่วงปลายปี 2557 เกิดเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นเขตนอกพื้นที่ความขัดแย้งในสี่จังหวัดภาคใต้ โดยพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อความไม่สงบ นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2558 เกิดเหตุระเบิดรถยนต์ (car bomb) ในเกาะสมุย ซึ่งเป็นเขตนักท่องเที่ยว และมีหลักฐานว่าเกี่ยวข้องกับขบวนการแบ่งแยกดินแดน โดยผู้ต้องสงสัยทั้งหมดในเหตุการณ์เป็นคนมาเลย์มุสลิม เหตุระเบิดดังกล่าวอาจชี้ให้เห็นถึงการเข้าสู่ระยะใหม่ของความขัดแย้ง แม้ว่าคำอธิบายต่อแรงจูงใจดังกล่าวยังคงเป็นปริศนา

รัฐบาลทหารแสดงเจตจำนงค์ว่าจะยังดำเนินการเจรจา หากแต่หนึ่งปีหลังจากอยู่ในอำนาจ กลับไม่มีความคืบหน้าใดๆ ต่อเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่รัฐบาลยืนกรานว่ากำลังให้ข้อเสนอลับๆ กับฝ่ายขบวนการก่อความไม่สงบที่มีแนวโน้มจะร่วมเจรจา อย่างไรก็ตาม การรวมศูนย์อำนาจของรัฐบาลทหารและความหมายมั่นที่จะรักษาความเป็นเอกภาพของชาติไทย ดูจะไม่เอื้อกับเท่าใดกับการประนีประนอม ทั้งนี้ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในต่างประเทศได้รวมกลุ่มเพื่อผลักดันการเจรจาภายใต้องค์กรชื่อ สภาพันธะแห่งประชาชนปาตานี (มารา ปาตานี) แต่ฝ่ายแกนนำบีอาร์เอ็นสายหัวรุนแรงยังไม่มีท่าทีชัดเจน การเจรจาครั้งนี้จะเสียเปล่าหากไม่ได้รับการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่จากฝ่ายขบวนการ

เนื่องจากในปัจจุบัน สภาพแวดล้อมดูจะไม่เอื้ออำนวยกับการพูดคุยเจรจานัก  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเจรจาควรเตรียมพร้อมด้วยการสร้างกรอบงานที่ยั่งยืนและสถาบันต่างๆ ที่จะทำให้การเจรจาเดินหน้าไปได้เมื่อสภาพแวดล้อมอำนวยมากขึ้น และเมื่อการเจรจาเปิดขึ้น การพูดคุยควรนำไปสู่เป้าหมายที่เป็นไปได้ อาทิ ข้อตกลงเรื่องการแต่งตั้งตัวแทนของทุกฝ่าย และขั้นตอนการสื่อสารระหว่างตัวแทนการเจรจากับสื่อมวลชน การตกลงกันได้เรื่องระเบียบปฏิบัตินี้ จะเป็นขั้นตอนที่มีความหมายสำหรับกระบวนการเจรจาที่ยาวนานต่อไป 

Executive Summary

The south Thailand insurgency has grown less lethal over the past year, but there are worrying indications militants may have expanded operations beyond the traditional conflict zone of the four southernmost provinces. Malay-Muslim rebels have been fighting against Thai rule for more than a decade in what they see as a national-liberation struggle. An official dialogue process between Bangkok and separatist leaders that began in 2013 was doomed by divisions on both sides. Since the 22 May 2014 coup in Bangkok, the junta has focused on preserving bureaucratic and military prerogatives. Although it has vowed to pursue talks, the junta rejects pluralism and political debate, promoting “Thainess” and “unity” concepts that are unlikely to reduce tensions in the south. Resolution of the conflict demands a new relationship between the state and society in the region, which will most likely require greater political decentralisation. All sides should now work to prepare infrastructure for future talks, including dedicated dialogue teams, communications procedures and means for popular participation.

Map of Thailand’s Southernmost Provinces CRISIS GROUP

In February 2013, the Yingluck Shinawatra government initiated a dialogue process, facilitated by Malaysia, with representatives of Barisan Revolusi Nasional Melayu Patani (Patani-Malay National Revolutionary Front, BRN), the principal insurgent group. After three plenary meetings, and before advancing to confidence-building measures, this “Kuala Lumpur Process” collapsed, undermined by rifts on both sides of the table, but though rushed and bungled, it changed the conflict’s dynamics. A Thai government had acknowledged the political nature of the insurgency and committed to dialogue. BRN was compelled to depart from its habitual reticence and articulate a political platform.

The dialogue also highlighted deficiencies that the protagonists must address if any new process is to succeed. For the militants, these include a lack of capacity within the political wing and internal discord on the merit of talks. The Thai side also lacks experience in negotiations of this kind, and its internal divisions are arguably deeper than those on the militant side. The military’s public scepticism about the Kuala Lumpur Process highlighted the fundamental problem of the institution’s independence from elected authority.

After the May 2014 coup, this became moot. The ruling National Council for Peace and Order (NCPO) restructured the bureaucracy responsible for the region. Enhanced counter-insurgency measures contributed to a significant drop in violent incidents and casualties. In spite of this achievement, the security picture is mixed. Late 2013 witnessed coordinated bomb attacks outside the traditional conflict zone and disquieting evidence of possible militant operations in Phuket. On 10 April 2015, a car bomb on the tourist island of Koh Samui showed some of the hallmarks of militant attacks, and all known suspects in the incident are Malay Muslims. These bombings could indicate a new phase of the conflict, though questions remain about the motivation behind them.

The military government has formally committed to dialogue, but after a year in office, there is no evidence of progress. Officials insist that they are quietly making secret overtures to potential militant interlocutors. The junta’s centralisation of power and its sworn obligation to preserve the kingdom’s unity cast doubt, however, on its readiness to compromise. Some militant groups in exile have joined together to pursue dialogue under the banner of the Patani Consultative Council (Majilis Syura Patani, MARA Patani) but BRN hardliners remain uncommitted. Without the movement’s full participation, any dialogue process would be forlorn.

Given the current adverse environment for conducting substantive talks, the actors should concentrate for now on establishing a durable framework and institutions that can carry such negotiations forward when that environment becomes more favourable. Once initiated, official dialogue should first focus on modest goals such as agreement on acceptable designations for all parties and communication protocols between delegations and with the media. Agreement on procedural issues would represent genuine progress in what will be a long process.

Subscribe to Crisis Group’s Email Updates

Receive the best source of conflict analysis right in your inbox.