Report / Asia 3 minutes

เหตุการณ์ภาคใต้ของไทย : ผลกระทบจากรัฐประหาร

  • Share
  • บันทึก
  • พิมพ์
  • Download PDF Full Report

สรุป

รัฐประหารเดือนกันยายน ปี 2549 ในไทย แม้จะสร้างผลเสียหายต่อพัฒนาการทางประชาธิปไตย แต่ขณะเดียวกันก็ได้เปิดทางให้มีการจัดการความขัดแย้งในพื้นที่ของมุสลิมในภาคใต้ให้ดีขึ้น รัฐบาลรักษาการณ์ของพล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ได้ยกเครื่องนโยบายส่วนหนึ่งที่ย่ำแย่ที่สุดของรัฐบาลชุดก่อน และยังส่งสัญญาณว่าพร้อมจะแก้ไขปัญหาที่เป็นต้นเหตุของความไม่พอใจในพื้นที่มาอย่างยืดเยื้อยาวนาน แต่การแปลงคำพูดของรัฐบาลในกรุงเทพฯให้เป็นการกระทำในพื้นที่เป็นไปอย่างยากลำบาก และความสัมพันธ์ระหว่างกำลังรักษาความมั่นคงกับชุมชนในพื้นที่ยังคงตึงเครียดขณะที่ความรุนแรงก็ทวีขึ้น คนไทยที่อยู่นอกพื้นที่ได้กดดันให้รัฐบาลหันกลับไปใช้วิธีการปราบปราบอย่างรุนแรงกับกลุ่มที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการ รัฐบาลเองก็จำเป็นต้องตอบสนองต่อการที่เหตุรุนแรงขยายตัวสูงขึ้น แต่ว่าต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะการจับกุมโดยไม่มีหลักฐานและการเสียชีวิตของพลเรือนที่มากขึ้นรังแต่จะไปเพิ่มแรงหนุนให้กับกลุ่มผู้ก่อการ

พล.อ.สุรยุทธเข้ารับตำแหน่งได้ไม่ถึงเดือนก็ได้ออกมาเอ่ยปากขอโทษต่อการกระทำที่ไม่ถูกต้องต่อมุสลิมในภาคใต้ในอดีต ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ไม่เคยมีมาก่อน พล.อ.สุรยุทธประกาศไม่ให้มีการทำบัญชีดำรายชื่อผู้ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อเหตุรุนแรงซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้การจับกุมโดยไม่มีหลักฐานลดลงอย่างมาก และยังรื้อฟื้นหน่วยงานในการบริหารจัดการความขัดแย้งที่อดีตนายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรสั่งยุบไปเมื่อพค. 2545

มาตรการต่างๆดังกล่าว รวมทั้งการปล่อยตัวมุสลิม 56 คนที่ถูกคุมตัวไว้ร่วมสองปีด้วยข้อหาเล็กๆน้อยๆ ตลอดจนการยอมให้มีการประกันตัวในหลายคดีที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งภาคใต้ถือว่าได้รับการต้อนรับจากคนในภาคใต้ อย่างไรก็ตาม มาตรการบางอย่างที่นำมาใช้เพื่อลดความไม่พอใจของมุสลิมกลับสร้างความแปลกแยกให้กับคนไทยพุทธในพื้นที่ เพิ่มความตึงเครียดระหว่างชุมชนและทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจอึดอัดใจ ในบางกรณี การปรับโครงสร้างกองกำลังรักษาความมั่นคงเพื่อปรับปรุงการประสานงานระหว่างหน่วยงานดีกลับทำให้ความตึงเครียดรุนแรงขึ้นแทนที่จะผ่อนคลายลง

ความพยายามในอันที่จะยอมรับอัตตลักษณ์ของมุสลิมมาเลย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ทำผ่านระบบการศึกษา อาจจะช่วยลดทอนน้ำหนักของข้ออ้างของฝ่ายก่อเหตุรุนแรงที่ว่ารัฐบาลพยายามจะทำลายหรือไม่ก็บั่นทอนวัฒนธรรมแบบมาเลย์และอิสลาม อย่างไรก็ตามความพยายามในการนำภาษาพื้นถิ่นมาเลย์แบบปัตตานีมาใช้เป็นอีกภาษาหนึ่งในโรงเรียนระดับปฐม รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้ภาษานี้ในหน่วยงานราชการกลับไม่เป็นผลอันเนื่องมาจากว่าไม่ได้รับการสนับสนุนทางการเมืองในระดับสูง

กลุ่มก่อความรุนแรงตอบโต้แนวทางการทำงานใหม่ของรัฐบาลด้วยการก่อเหตุรุนแรงและชวนเชื่อมากขึ้นโดยพุ่งเป้าทำลายความพยายามในการปรองดอง อีกด้านหนึ่งก็มีเครื่องบ่งชี้ด้วยว่า แม้จะยากลำบากแต่กลุ่มก่อความรุนแรงก็สามารถทำให้มีการประทัวงหลายหนเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวผู้ต้องสงสัยว่าเป็นพวกแบ่งแยกดินแดนรวมทั้งให้มีการถอนกำลังรักษาความมั่นคงออกจากบางพื้นที่ด้วย ในช่วงสิบแปดเดือนที่ผ่านมาความสามารถในการรวมกลุ่มทางการเมืองในระดับหมู่บ้านของฝ่ายก่อความรุนแรงยกระดับขึ้นอย่างมาก แต่ที่ยังไม่ชัดก็คือเรื่องนี้ทำให้แรงสนับสนุนของชุมชนเพิ่มขึ้นด้วยแค่ไหน ชาวบ้านจำนวนมากหวาดกลัวทั้งกลุ่มก่อความรุนแรงและกำลังรักษาความมั่นคง พวกเขากลายเป็นพวกที่ติดอยู่ตรงกลางระหว่างสองกลุ่มนี้

การสังหารพลเรือนและสมาชิกของกองกำลังรักษาความมั่นคงรายวันโดยฝ่ายก่อความรุนแรงที่ติดอาวุธอย่างดีนับเป็นความจำเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเรียกร้องให้ต้องมีการตอบโต้ด้วยกำลัง แต่การที่กลุ่มก่อความรุนแรงไม่เปิดเผยตัวและยังพร้อมจะหลบซ่อนอยู่ในหมู่พลเรือนเท่ากับว่ายุทธศาสตร์การใช้กำลังอย่างเดียวย่อมไม่ได้ผล รัฐบาลจำเป็นต้องมีสมดุลย์ระหว่างการรักษาความปลอดภัยกับการปกป้องสิทธิมนุษยชน

กฏอัยการศึกที่ยังมีผลบังคับใช้ควบคู่ไปกับกฏหมายบริหารราชการในภาวะฉุกเฉินซึ่งไม่เป็นที่ชื่นชอบของสาธารณะได้กลายเป็นเครื่องปกป้องนายทหารและตำรวจจากการถูกฟ้องร้องเอาผิด รัฐบาลรักษาการณ์แทบจะเรียกว่าไม่ได้มีความคืบหน้าใดๆในการสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นสำหรับกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ และยังปรากฏมีรายงานที่เชื่อถือได้ในเรื่องของการทรมานและการวิสามัญฆาตกรรมให้เห็นอีก การติดอาวุธพลเรือนเพื่อให้ป้องกันตัวเองตามโครงการอาสาป้องกันตนเองระดับหมู่บ้านก็ไม่ใช่ทางออกเพราะมีโอกาสที่อาวุธเหล่านั้นจะตกไปอยู่ในมือของกลุ่มผู้ก่อเหตุและเพิ่มความเป็นไปได้ในอันที่จะเกิดความรุนแรงอีก

อีกด้านหนึ่ง อะไรก็ตามที่เห็นกันว่าเป็นความพยายามเพื่อที่จะเอาใจอีกฝ่ายก็จะกลายเป็นเครื่องมือในการฆ่าตัวตายทางการเมืองของผู้นำไทยที่ต้องพึ่งพิงแรงสนับสนุนจากกลุ่มผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งที่อยู่นอกพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งคนส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ไม่มีปัญหาอะไรกับแนวทางแบบใช้ไม้แข็งของพตท.ทักษิณ

ผู้นำรัฐประหารพล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน กับนายกรัฐมนตรีพล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ได้หนุนให้มีการใช้มาตรการสำคัญคือการเจรจาให้เป็นทางออกหลักในการแก้ปัญหา แต่ต่างก็ยอมรับว่าคงจะต้องรออีกนานกว่าที่จะมีการเจรจาที่มีความหมาย ในปี 2549 การหารือเบื้องต้นกับสมาชิกกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่อยู่ต่างแดนล้มเหลวเมื่อปรากฏชัดว่าคนเหล่านั้นมีบทบาทอิทธิพลน้อยมากต่อการก่อเหตุในพื้นที่ ถึงที่สุดแล้วการให้อำนาจปกครองตนเองแบบที่ผ่านการต่อรองแล้วอาจจะเป็นทางออกก็ได้ แต่จนถึงขณะนี้กลไกในอันที่จะเปิดให้เกิดการพูดจากันยังไม่ปรากฏ

  • รัฐบาลยังไม่สามารถระบุตัวฝ่ายนำของกลุ่มผู้ก่อการ อันที่จริงแล้วยังไม่ชัดด้วยซ้ำว่ามีฝ่ายนำในระดับที่สามารถควบคุมกลุ่มต่างๆที่ก่อความรุนแรงที่มีอยู่หลายๆกลุ่มในขณะนี้ได้
     
  • คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ชอบใจความคิดในเรื่องของการเจรจา และรัฐบาลรักษาการณ์ชุดนี้ไม่ได้มีต้นทุนทางการเมืองที่จะเอามาใช้ได้มากนัก
     
  • การเจรจาที่จะมีความหมายจะต้องมาจากรัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจจากประชาชนผ่านกระบวนการประชาธิปไตย

ความสามารถของรัฐบาลของพล.อ.สุรยุทธในการรับมือกับปัญหาภาคใต้เจอข้อจำกัดในเรื่องของปัญหาที่เร่งด่วนหลายเรื่องในกรุงเทพฯ และเจอแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ดำเนินการในเรื่องหลักๆที่ถูกใช้เป็นข้ออ้างหาความชอบธรรมในการทำรัฐประหาร ไม่ว่าเรื่องฟื้นฟูความมั่นคง ดึงเศรษฐกิจให้คืนสู่สภาพเดิม และการเอาโทษอดีตนายกรัฐมนตรีพตท.ทักษิณตามข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริตและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เหตุการณ์วางระเบิดหลายลูกในช่วงสิ้นปีในกรุงเทพฯก็ดี การออกมาตรการทางเศรษฐกิจหลายอย่างที่ไม่เข้าท่าก็ดี รวมทั้งความแตกแยกระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มคณะผู้นำรัฐประหารก็ดี เหล่านี้ได้บั่นทอนความเชื่อมั่นของสาธารณะขณะที่ทำให้ปัญหาภาคใต้กลายเป็นเรื่องได้รับความสำคัญน้อยลงไปอีก

เหลือเวลาอีกแค่หกเดือนก่อนที่จะมีการเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตย เห็นได้ชัดว่ามีข้อจำกัดสำหรับสิ่งที่รัฐบาลรักษาการณ์จะดำเนินการได้ แต่ถึงกระนั้นรัฐบาลชุดนี้ก็ยังสามารถจะทำได้หลายอย่าง และที่จริงแล้วควรจะริเริ่มมาตรการหลายอย่างเพื่อปูทางไว้ให้รัฐบาลชุดต่อไปมาสานต่อได้

จาการ์ต้า/บรัสเซลส์ 15 มีนาคม 2550

Executive Summary

The September 2006 coup in Thailand, despite its damage to democratic development, opened the way for improved management of the conflict in the Muslim South. Prime Minister Surayud Chulanont’s interim government has overhauled some of its predecessor’s worst policies and signalled willingness to address longstanding grievances. But verbal commitments in Bangkok have been difficult to translate into changes on the ground, and relations between security forces and local communities continue to be strained while violence mounts. Thais outside the South have exerted pressure for a return to heavy-handed crackdowns on suspected militants. The government must respond to the escalating attacks, but with care – widespread arbitrary arrests and civilian casualties would only increase support for insurgents.

Barely a month in office, Surayud made an historic apology to southern Muslims for past abuses, announced an end to blacklisting of suspected insurgents leading to a significant decrease in arbitrary arrests, and revived key conflict management institutions disbanded by Thaksin Shinawatra in May 2002.

These steps, together with the acquittal of 56 Muslims detained for over two years on trivial charges, and the granting of bail in several conflict-related cases, were welcomed in the South. However, some of the justice measures designed to assuage Muslim grievances have alienated the local Buddhist population, raising communal tensions and frustrating police. The restructuring of the security forces, designed to improve interagency cooperation, also appears in some cases to be exacerbating rather than easing tensions.

Efforts to accommodate Malay Muslim identity, particularly in the education system, may help undercut militant claims the government is trying to destroy or dilute Malay culture and Islam. However, attempts to introduce the Patani Malay dialect as an additional language in state primary schools and to promote its use in government offices have fallen flat in the absence of high-level political support.

Insurgent groups have responded to the government’s new approach by stepping up violence and propaganda aimed at undermining conciliation efforts. There are also strong indications they have contrived a rash of protests demanding the release of separatist suspects and the withdrawal of security forces from some areas. The insurgents’ village-level political organisation has improved significantly in the last eighteen months but it is not clear how much this reflects an increase in local support. Many villagers fear both the insurgents and the security forces and are caught between the two.

Daily killings of civilians and security forces by well-armed insurgents clearly necessitate a military response but the clandestine nature of the groups and their tendency to shelter among civilian populations mean a purely military strategy is bound to fail. The government needs to balance providing security with protecting human rights.

Martial law is still in force, alongside an unpopular Emergency Decree granting police and military officers immunity from prosecution. The interim government has made almost no progress on providing justice for past abuses, and credible reports of torture and extrajudicial killings persist. Arming civilians to defend themselves in village defence volunteer programs is no solution either, as the arms are as likely to fall into the hands of insurgents and increase the possibility of violence.

On the other hand, anything seen as appeasement would be politically suicidal for Thai leaders dependent for support on voters outside the South, most of whom had no problem with Thaksin’s get-tough approach.

Coup leader General Sonthi Boonyaratglin and Prime Minister Surayud have taken the critical step of backing negotiations as the ultimate solution to the conflict but acknowledge that meaningful talks with insurgent leaders are a long way off. Preliminary discussions with exiled separatists faltered in 2006 when it became clear they had little influence on the ground. Ultimately, some form of negotiated autonomy may be the only answer, but the conditions that would make dialogue possible are not in place:

  • The government has been unable to identify the leadership of the insurgency. Indeed, it is not clear that there even exists an overall leadership capable of controlling the various groups committing the violence.
     
  • The Thai public is largely hostile to the idea of negotiations, and the embattled interim government does not have a lot of political capital to spare.
     
  • Meaningful negotiations require a government with a democratic mandate.

The Surayud government’s ability to focus on the conflict has been limited by competing priorities in Bangkok, and pressure is mounting to deliver on the core issues used to justify the coup: restoring stability, getting the economy back on track and prosecuting former Prime Minister Thaksin for alleged corruption and lèse majesté. The combined impact of bombings in Bangkok on New Year’s Eve, a series of economic blunders and divisions within the government and the coup group has undermined public confidence and pushed the South further down the agenda.

With only six months remaining before democratic elections are scheduled to be held, there are obvious limits on what the interim government can achieve. But it can and should still initiate a number of measures to set the course for its successor.

Jakarta/Brussels, 15 March 2007

Subscribe to Crisis Group’s Email Updates

Receive the best source of conflict analysis right in your inbox.