Report / Asia 4 minutes

ปัญหาภาคใต้ของไทย การลุกฮือไม่ใช่สงครามศาสนา

  • Share
  • บันทึก
  • พิมพ์
  • Download PDF Full Report

บทคัดย่อ

ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิมทวีความเลวร้ายขึ้นอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ต้นปี 2547 และได้รับแรงหนุนส่งจากนโยบายแข็งกร้าวของนายกรัฐมนตรี พตท.ทักษิณ ชินวัตร ในภูมิภาคเองหลายฝ่ายเริ่มวิตกกังวลว่าถ้าปล่อยไว้ความรุนแรงนี้อาจขยายกลายเป็นการลุกฮือต่อต้านอย่างกว้างขวาง หรือแม้แต่อาจจะกลายเป็นสงครามศาสนาระดับภูมิภาคได้แม้ว่าจนถึงขณะนี้จะยังไม่มีหลักฐานบอกได้ว่ามีกลุ่มจากภายนอกเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยในการสังหารและวางระเบิดที่แทบจะกลายเป็นกิจกรรมรายวัน

หลายฝ่ายมักพูดว่าสาเหตุที่มีส่วนทำให้เกิดความรุนแรงคือการที่กระแสของอิสลามสายเคร่งจารีตได้รับความนิยมมากขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่มุสลิมไม่พอใจต่อการที่ไทยส่งทหารไปอิรัก แต่ถึงแม้จะเป็นความจริงที่จิตสำนึกของความเป็นมุสลิม ตลอดจนความรู้สึกว่าถูกกลั่นแกล้งตลอดจนความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับมุสลิมที่อื่นๆมีมากขึ้นในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา การมองปัญหาที่เกิดขึ้นแค่ว่าเรื่องนี้เป็นผลของการก่อการร้ายของมุสลิมอาจจะเป็นความผิดพลาดก็ได้ และความรุนแรงนี้ที่จริงแล้วมีสาเหตุจากปัญหาภายในพื้นที่มากกว่า

แน่นอนว่าพื้นที่ของมุสลิมในภาคใต้ของไทยเป็นพื้นที่ที่ยากจนที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ แต่ปัญหานี้เป็นเรื่องการเมืองมากกว่า และแม้แต่การใช้นโยบายเพื่อการพัฒนาที่ผ่านการวางแผนมาอย่างดีก็ไม่น่าจะช่วยได้หากไม่จัดการปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม มาตรการแทบทุกอย่างที่รัฐบาลดำเนินการไปดูเหมือนจะทำให้ปัญหายิ่งเลวร้ายลงไปอีก

ต้นตอของความรุนแรงที่กำลังเกิดขึ้นเริ่มจากปัญหาในอดีตที่มาจากการเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยมุสลิมมาเลย์รวมทั้งความพยายามในอันที่จะบีบบังคับให้พวกเขาหลอมรวมตัวเข้ากับสังคมส่วนที่เหลือของประเทศ โดยรัฐบาลไทยที่เป็นของไทยพุทธในยุคสมัยต่างๆที่ได้ดำเนินการต่อเนื่องกันมานานเกือบศตวรรษ

กลุ่มต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนติดอาวุธเคลื่อนไหวในภาคใต้มาตั้งแต่ราวห้าสิบปีที่แล้ว การต่อสู้รุนแรงที่สุดในช่วงสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา กลุ่มที่มีขนาดใหญ่และปฏิบัติการได้ผลมากที่สุดในบรรดากลุ่มต่างๆคือกลุ่มพูโล (องค์การปลดปล่อยรัฐปัตตานีหรือองค์การสหปัตตานีเสรี) ซึ่งต้องการจะจัดตั้งรัฐอิสลามที่เป็นอิสสระแต่ว่าประเด็นของกลุ่มนี้อยู่ที่เรื่องของเชื้อชาติมากกว่าเรื่องของความเชื่อคืออิสลาม

รัฐบาลไทยสามารถลดความรุนแรงลงระดับหนึ่งด้วยมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองซึ่งมีผลในการลดความช่วยเหลือที่มีไปถึงกลุ่มติดอาวุธ และกลุ่มนักสู้หลายร้อยคนได้เข้ารับการนิรโทษกรรม จนถึงช่วงกลางทศวรรษที่ยี่สิบการต่อต้านได้ส่อเค้าว่าจะยุติลง

แต่ความตึงเครียดระลอกใหม่โผล่ขึ้นมาอีก โดยมีกลุ่มต่างๆที่สำคัญสี่กลุ่มปรากฏตัวหรือไม่ก็ปรากฏตัวขึ้นมาใหม่และความรุนแรงทวีขึ้นต้นปี 2004 สี่กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวในปัจจุบันมี

  • BRN – C บีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนท หรือบีอาร์เอ็น ซี เป็นกลุ่มเดียวในบรรดากลุ่มที่แตกหน่อจากบีอาร์เอ็นที่มีการเคลื่อนไหว บีอาร์เอ็นก่อตั้งในช่วงสามสิบกว่าปีที่แล้วด้วยจุดประสงค์เพื่อต่อสู้ให้มีการจัดตั้งรัฐปาตานีอิสสระ เชื่อกันว่ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มติดอาวุธที่ใหญ่ที่สุดและมีการจัดตั้งดีที่สุดในบรรดากลุ่มต่างๆ เน้นการจัดตั้งทางการเมืองและหาสมาชิกจากภายในโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม
     
  • Pemuda องค์กรเยาวชนกู้ชาติปัตตานี (เป็นส่วนหนึ่งของบีอาร์เอ็น โคออร์ดิเนท) เชื่อกันว่าเป็นผู้ลงมือในการก่อเหตุวินาศกรรม การยิง และวางระเบิดหลายครั้ง
     
  • GMIP จีเอ็มไอพี (กลุ่มอิสลาม มูจาฮีดิน ปาตานี) ก่อตั้งโดยกลุ่มบุคคลที่เคยผ่านการรบในอัฟกานิสถานในปี 2538 ต้องการจัดตั้งรัฐอิสลามที่เป็นอิสสระ และ
     
  • พูโลใหม่ ก่อตั้งเมื่อปี 2538 ในฐานะเป็นเครือข่ายของพูโล เป็นกลุ่มติดอาวุธขนาดเล็กสุดในบรรดากลุ่มต่างๆ ต่อสู้เพื่อจัดตั้งรัฐอิสสระ

เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในเวลานี้พร้อมทั้งตอบปัญหาว่าใครบ้างมีส่วนร่วม รายงานฉบับนี้ได้เจาะลึกลงไปที่เหตุการณ์ใหญ่สามเหตุการณ์ อันแรกคือเหตุการณ์เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 ซึ่งมีการโจมตีอันที่มีลักษณะประสานงานกันมาอย่างดี มีกลุ่มบุคคลเข้าปล้นค่ายทหาร เผาโรงเรียนกับสถานีตำรวจ อีกหนึ่งวันถัดมายังวางระเบิดอีกหลายจุด

เหตุการณ์ที่สองคือเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 ซึ่งมีการโจมตีหลายจุดพร้อมๆกันเป้าหมายคือด่านตรวจของทหารและสถานีตำรวจสิบเอ็ดแห่งทั่วทั้งปัตตานี ยะลาและสงขลา เหตุการณ์จบลงด้วยการปะทะกันที่มัสยิดกรือเซะและทหารยิงคนที่อยู่ในนั้นตาย 32 คน ในวันนั้นมีนักสู้ 105 คน พลเรือนอีกหนึ่งและเจ้าหน้าที่อีกห้ารายที่ล้มตายลง

เหตุการณ์ที่สามคือเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 ซึ่งเริ่มต้นด้วยการชุมนุมประท้วงที่หน้าสถานีตำรวจและจบลงด้วยความตายของมุสลิมทั้งผู้ใหญ่และวัยรุ่นแปดสิบห้าคนเป็นอย่างน้อย ส่วนใหญ่ตายเพราะขาดอากาศหายใจหลังจากที่ถูกจับกุมและต้องนอนซ้อนทับกันระหว่างห้าถึงหกชั้นในระหว่างการขนย้ายพวกเขาไปยังค่ายทหารบนรถบันทุกของทหาร

สาเหตุของปัญหาว่าทำไมความรุนแรงเพิ่มขึ้นนั้นมีคำอธิบายหลายประการ แต่ไม่มีข้อไหนที่สามารถอธิบายได้อย่างครบถ้วน คำอธิบายสองประการที่เป็นไปได้มากที่สุดคือการยุบเลิกหน่วยงานของรัฐบาลที่มีความสำคัญ กับความกลัวและไม่พอใจอันเกิดจากการจับกุมโดยไม่มีการตั้งข้อหารวมทั้งการถูกจนท.ตร.ทารุณ กระหน่ำด้วยความล้มเหลวของรัฐบาลในอันที่จะสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นกับเหยื่อและครอบครัวผู้เคราะห์ร้ายเหล่านั้น การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางสังคมเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกขาดความมั่นคงในชีวิตและอึดอัดใจในหมู่ชุมชนมุสลิมมาเลย์ รวมทั้งความรู้สึกว่าวิถีชีวิต ค่านิยมและวัฒนธรรมของพวกเขากำลังได้รับผลกระทบ

มาตรการของรัฐบาลที่นับว่าเป็นความผิดพลาดรวมไปถึง

  • ความล้มเหลวในการที่ไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างถูกต้อง
     
  • การยุบเลิกหน่วยงานด้านการบริหารจัดการปัญหาที่ทำงานได้ผล
     
  • การใช้กำลังมากเกินควร
     
  • ความล้มเหลวเพราะไม่ได้สอบสวนและลงโทษสมาชิกในหน่วยงานรักษาความมั่นคงตามสมควร
     
  • การส่งเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่เข้าใจหรือไม่ก็เข้าใจน้อยในเรื่องความอ่อนไหวทางวัฒนธรรมในพื้นที่ตลอดจนภาษามาเลย์
     
  • การพึ่งพางานข่าวกรองที่อ่อน
     
  • การโยกย้ายเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่รับผิดชอบด้านความมั่นคงและการเมืองบ่อย ตลอดจนความล้มเหลวที่ไม่สามารถทำให้หน่วยงานด้านการรักษาความมั่นคงและการข่าวราวสิบหน่วยงานในพื้นที่นี้ประสานงานกันได้
     
  • การปฏิเสธข้อเสนอที่ให้มีการนิรโทษกรรมตลอดจนข้อเสนอให้ใช้มาตรการที่นุ่มนวลกว่าในการจัดระเบียบโรงเรียนสอนศาสนาแต่กลับเลือกใช้มาตรการทางการทหารที่ใช้กำลังมากกว่า

นอกเหนือจากมาตรการทางด้านความมั่นคงแล้ว รัฐบาลควรจะต้องทำความเข้าใจและรับมือปัญหาความไม่พอใจทางการเมืองซึ่งเป็นสิ่งที่กลุ่มผู้ก่อความรุนแรงหยิบฉวยเป็นโอกาสสร้างแรงสนับสนุน การตั้งคณะกรรมการเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติเมื่อเดือนมีนาคม 2547 เป็นก้าวแรกในแนวทางนี้ที่พอจะสร้างความหวังได้ แม้ว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่ในคณะกรรมการดังกล่าวจะไม่ใช่มุสลิมและเป็นคนนอกพื้นที่ก็ตาม อย่างไรก็ดี ในการที่จะจัดการกับปัญหาที่ต้นตอ อย่างน้อยที่สุดรัฐบาลควรจะดำเนินมาตรการเพิ่มเติมในอันที่จะทำลายวงจรความรุนแรงด้วยมาตรการที่ผ่านการพิจารณามาแล้วรวมทั้งที่คำนึงถึงความจำเป็นอื่นนอกเหนือไปจากการปฏิบัติการทางทหารและตำรวจ

สิงคโปร์/บรัสเซลส์ 18 พฤษภาคม 2548

Executive Summary

Violence in Thailand's southern, mainly Malay Muslim provinces has been steadily escalating since early 2004, exacerbated by the disastrously heavy-handed policies of Prime Minister Thaksin Shinawatra. There is widespread concern in the region that left unchecked, the unrest could turn into a mass-based insurgency, or even a regional jihad, although to date there is no evidence of external involvement in the bombings and killings that have become almost a daily occurrence.

The rise of more puritanical strains of Islam in southern Thailand is often cited as contributing to the violence, particularly given Muslim anger at the deployment of Thai troops in Iraq. But while Islamic consciousness and a sense of persecution and solidarity with fellow Muslims has grown over the last two decades, it would be a mistake to view the conflict as simply another manifestation of Islamic terrorism. The violence is driven by local issues.

There is no question that the Muslim south is one of the poorest parts of Thailand, but the grievances are political, and even well thought-out development policies will not deal with the unrest effectively unless those grievances are addressed. However, almost every step the government has taken has exacerbated the problem.

The origins of the current violence lie in historical grievances stemming from discrimination against the ethnic Malay Muslim population and attempts at forced assimilation by successive ethnic Thai Buddhist governments in Bangkok for almost a century.

Armed separatist groups have been active there since the late 1960s, with particularly virulent violence in the late 1970s and early 1980s. The largest and most effective group of several operating then was PULO (Patani United Liberation Organisation), which called for an independent Islamic state but whose thrust was more ethno-nationalist than Islamist.

The Thai government managed to stem the unrest with political and economic reforms that undercut support for armed struggle, and hundreds of fighters accepted a broad amnesty. The insurgency looked to be all but over by the mid-1990s.

But new strains then appeared, with four particularly significant groups emerging or re-emerging, and major violence erupting in early 2004. The major groups active today include:

  • BRN-C (Barisan Revolusi Nasional-Coordinate, National Revolutionary Front-Coordinate) the only active faction of BRN, first established in the early 1960s to fight for an independent Patani state. Thought to be the largest and best organised of the armed groups, it is focused on political organising and recruitment within Islamic schools;
     
  • Pemuda, a separatist youth movement (part of which is controlled by BRN-C), believed to be responsible for a large proportion of day-to-day sabotage, shooting and bombing attacks;
     
  • GMIP (Gerakan Mujahidin Islam Patani, Patani Islamic Mujahidin Group), established by Afghanistan veterans in 1995, committed to an independent Islamic state; and
     
  • New PULO, established in 1995 as an offshoot of PULO and the smallest of the active armed groups, is fighting for an independent state.

In an effort to understand the current violence and who is involved, this report focuses in detail on three recent major outbreaks. The first, on 4 January 2004, involved carefully coordinated attacks in which militants raided an army arsenal, torched schools and police posts, and the following day, set off several bombs.

The second, on 28 April 2004, involved synchronised attacks on eleven police posts and army checkpoints across Pattani, Yala and Songkhla, and ended in a bloody showdown at the Krue Se Mosque when the Thai army gunned down 32 men inside. By the end of the day, 105 militants, one civilian and five members of the security forces were dead.

The third, on 25 October 2004, began with a demonstration outside a police station and ended with the deaths of at least 85 Muslim men and boys, most from suffocation after arrest as a result of being stacked five and six deep in army trucks for transport to an army base.

There are several explanations, none mutually exclusive, for why violence has escalated. Two of the most plausible are the disbanding of key government institutions, and the fear and resentment created by arbitrary arrests and police brutality, compounded by government failure to provide justice to victims and families. Rapid social change has also contributed to insecurity and frustration in Malay Muslim communities and a feeling that their way of life, values and culture are threatened.

Government missteps in handling the problem include:

  • failure to diagnose it accurately;
     
  • dismantling effective crisis management institutions;
     
  • excessive use of force;
     
  • failure to properly investigate and punish abuses by members of the security forces;
     
  • deployment of officers with little or no understanding of local cultural sensitivities or Malay language skills;
     
  • reliance on weak intelligence;
     
  • frequent rotation of senior political and security personnel and failure to coordinate some ten security forces and intelligence agencies in the region; and
     
  • dismissal of proposals for amnesty and less intrusive methods of regulating religious schools in favour of a more robust military response.

Beyond security measures, the government needs to understand and respond to the political grievances from which perpetrators of violence are drawing strength. The establishment in March 2005 of a National Reconciliation Commission, despite its mainly non-Muslim, non-southern composition, is the first encouraging step in this direction. In order to address immediate sources of tension, however, the government should, at a minimum, undertake a number of additional steps designed to break the cycle of violence by a measured response that acknowledges the need for more than police and military actions.

Singapore/Brussels, 18 May 2005

Subscribe to Crisis Group’s Email Updates

Receive the best source of conflict analysis right in your inbox.