Report / Asia 4 minutes

เหตุการณ์ภาคใต้ของไทย:ปัญหาของกองกำลังทหารพรานและอาสาสมัครชาวบ้าน

  • Share
  • บันทึก
  • พิมพ์
  • Download PDF Full Report

สรุป

การที่รัฐบาลพึ่งพากองกำลังทหารพรานและอาสาสมัครชาวบ้านเพิ่มมากขึ้นได้กลายเป็นอุปสรรคต่อการปราบ ปรามผู้ก่อความไม่สงบในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม ทหารพรานและกองกำลังอาสาสมัครชาวบ้านหลากหลายกลุ่มนั้นได้ปฏิบัติหน้าที่ควบคู่ไปกับทหารอาชีพและตำรวจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การใช้กำลังรบที่ไม่ใช่ทหารอาชีพมีข้อได้เปรียบบางประการ เช่น สามารถฝึกอบรมบุคคลเหล่านี้และนำมาปฏิบัติงานได้รวดเร็วและสิ้นเปลืองงบประมาณน้อยกว่ากองกำลังประจำ นอกจากนั้น โครงสร้างในการบังคับบัญชามักจะยืดหยุ่นกว่า อีกประการหนึ่ง อาสาสมัครที่คัดเลือกจากชาวบ้านในพื้นที่ยังมีความได้เปรียบในแง่ความรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นมากกว่าทหารจากต่างถิ่น แต่กองกำลังเหล่านี้มีข้อบกพร่องเพราะไม่ได้รับการฝึกฝนหรือมีเครื่องไม้เครื่องมืออย่างเพียงพอ การใช้กองกำลังเหล่านี้ทำให้ลำดับขั้นในการบังคับบัญชาและสั่งการของเจ้าหน้าที่ความมั่นคงซึ่งซับซ้อนอยู่แล้วยิ่งสับสนมากขึ้น และในบางกรณีทำให้ความตึงเครียดในชุมชนเลวร้ายลงไปด้วย แม้ว่าขณะนี้มีแนวโน้มว่ารัฐบาลยังจะคงกองกำลังทหารพรานและอาสาสมัครชาวบ้านต่อไป แต่รัฐบาลควรจะดำเนินการเพื่อจัดระเบียบและสร้างความเข้มแข็งของเจ้าหน้าที่ความมั่นคงและมุ่งพัฒนากองกำลังทหารและตำรวจอาชีพในระยะยาว

ทหารพรานและอาสาสมัครชาวบ้านมีบทบาทสำคัญในการรักษาความเรียบร้อยและปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปราบปรามคอมมิวนิสต์และขบวนการแบ่งแยกดินแดนในช่วงทศวรรษที่ 1970 และ 1980 ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา กองกำลังเหล่านี้ได้รับภารกิจความรับผิดชอบเพิ่มเติมหลายอย่าง เช่น ควบคุมค่ายผู้ลี้ภัยตามแนวชายแดนไทยพม่าและดำเนินการปราบปรามผู้เกี่ยวข้องกับ ”สงครามยาเสพติด” เมื่อปี 2546 แต่บทบาทที่สำคัญที่สุดในยุคหลังดูจะเป็นการปราบปรามขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ก่อเหตุรุนแรงในภาคใต้

กองทัพบกได้เพิ่มกำลังทหารพรานในภาคใต้ถึงสามเท่าตัวนับตั้งแต่เหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อปี 2547 ทั้งๆ ที่ทหารพรานมีชื่อเสียงอื้อฉาวในเรื่องความโหดร้ายทารุณและการฉ้อราษฎร์บังหลวง ทั้งนี้ กองทัพได้ทำการปฏิรูปทหารพรานหลายด้านตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 โดยเฉพาะการคัดเลือกทหาร และโดยรวมแล้วถือว่าทหารพรานเป็นกองกำลังรบที่เป็นมืออาชีพมากกว่าที่เคยเป็นเมื่อยี่สิบปีก่อน ถึงกระนั้นทหารพรานก็ยังมีปัญหาอย่างมากในเรื่องของระเบียบวินัยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน

เหตุผลสำคัญของกองทัพในการรับสมัครอาสาสมัครทหารพรานในภาคใต้นั้นคือความต้องการกำลังพลที่คุ้นเคยกับสภาพภูมิประเทศภาษาและวัฒนธรรม  แต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่ามีกำลังพลไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ที่เป็นชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายู ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ในพื้นที่ยังรู้สึกหวาดกลัวและไม่ไว้วางใจทหารพราน การวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยหลายคนในช่วงปี 2550 ยิ่งตอกย้ำถึงความหวาดระแวงต่อเจ้าหน้าที่และทำให้ฝ่ายตรงข้ามสามารถใช้ประเด็นนี้ในการโฆษณาชวนเชื่อได้ นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่ากลุ่มก่อความไม่สงบได้ปลอมตัวด้วยการแต่งเครื่องแบบทหารพรานในการก่อเหตุโจมตีเพื่อโหมกระพือความรู้สึกไม่พอใจต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ

กระทรวงมหาดไทยมีกองกำลังอาสาสมัครชาวบ้านในสังกัดหรือที่รู้จักในนาม กองอาสารักษาดินแดน (อส). ซึ่งขึ้นชื่อว่ามีความจงรักภักดีอย่างยิ่งกับผู้บังคับบัญชาในกระทรวง ถึงแม้ว่า อส. จะมีปัญหาน้อยกว่าทหารพรานแต่ก็ถูกมองว่าเป็นแขนขาของนายอำเภอในการบังคับใช้นโยบายต่างๆ

กองกำลังติดอาวุธกลุ่มใหญ่ที่สุดในภาคใต้คือกองกำลังอาสาฝ่ายพลเรือนที่เรียกว่าชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ). ซึ่งขยายจำนวนขึ้นอย่างมากในช่วงปี 2547-2548 ทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในรัฐบาลและในกองทัพตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพ แต่ ชรบ. ก็ยังคงเป็นหน่วยหลักในการรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน ชรบ. ส่วนใหญ่ได้รับการฝึกอบรมเพียงเล็กน้อยและอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ห่างกัน ซึ่งทำให้พวกเขามีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเป้าของการโจมตี อาสาสมัครจำนวนไม่น้อยจึงไม่สามารถแม้แต่จะคุ้มครองตนเองและอาวุธประจำกาย ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงการคุ้มครองชุมชน ตั้งแต่ปี 2547   ผู้ก่อเหตุไม่สงบได้ปล้นอาวุธปืนจาก ชรบ. หลายร้อยคน นอกจากนี้สมาชิก   ชรบ. บางคนกลับใช้อาวุธเหล่านั้นในการทำร้ายคนในหมู่บ้านด้วยกันเองในสถานการณ์ที่รัฐไม่สามารถที่จะควบ คุมความปลอดภัยในหมู่บ้านได้ อย่างไรก็ดี ทางรัฐบาลได้ประกาศแผนจะระดมรับอาสาสมัคร ชรบ. เพิ่มเติมอีก 7,000 คนภายในสิ้นปี 2552

ถึงแม้ว่ากองกำลังอาสาสมัครชาวบ้านดูจะมีปัญหาหลายอย่าง แต่กรมราชองครักษ์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถก็ได้ดำเนินการจัดตั้งกองกำลังอาสาสมัครขึ้นมาอีกกลุ่มหนึ่งในเดือนกันยายน 2547 ซึ่งมีชื่อเรียกว่า อาสาสมัครรักษาหมู่บ้าน (อรบ.) อาสาสมัครเหล่านี้จะได้รับการฝึกอบรมทางทหาร 10-15 วันซึ่งมากกว่าชรบ. ซึ่งได้รับการฝึกอบรมเพียงสามวันเท่านั้น แต่ถึงกระนั้นการฝึกอบรมทางทหารที่ได้ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับ มือกับกลุ่มผู้ก่อเหตุไม่สงบที่มีอาวุธพร้อมและมีการจัดตั้งอย่างดี   อรบ. นั้นแตกต่างจาก ชรบ. ตรงที่ในขณะที่ชรบ. ประกอบด้วยอาสาสมัครซึ่งเป็นคนหลากหลายศาสนาโดยขึ้นกับลักษณะประชากรในแต่ละพื้นที่   แต่ อรบ.ประกอบด้วยอาสาสมัครชาวพุทธเกือบจะทั้งหมดและมักใช้วัดเป็นฐานที่มั่นทำหน้าที่ให้การคุ้มครองชุมชนชาวพุทธ

ชาวพุทธซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในภาคใต้มีความรู้สึกไม่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบต้องการจะขับไล่ชาวพุทธให้ออกไปจากหลายพื้นที่ ข้าราชการประชาชนพลเรือนและพระต่างตกเป็นเป้าการลงมือสังหารที่เหี้ยมโหดเพื่อยั่วยุให้เกิดการลงมือแก้แค้น ชาวพุทธจำนวนมากซึ่งไม่พอใจกับความล้มเหลวของรัฐบาลในการให้ความคุ้มครองจึงหันมาป้องกันตนเอง กองกำลังอาสาจึงถูกจัดตั้งขึ้นทั่วไปในพื้นที่ภาคใต้โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐในระดับที่แตกต่างกัน

การขยายตัวของกองกำลังอาสาซึ่งได้รับการฝึกอบรมเพียงเล็กน้อยและมีการบังคับบัญชาเพียงหลวมๆ ไปยังพื้นที่ขัดแย้งที่มีความอ่อนไหวสูงทำให้เกิดปัญหาหลายด้าน ทั้งการสร้างความสับสนในสายการบังคับบัญชา ทำให้เจ้าหน้าที่มีความรับผิดชอบต่อการกระทำน้อยลง นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะกระพือความรุนแรงระหว่างคนต่างศาสนาและเชื้อชาติได้มากขึ้น  อย่างไรก็ตาม เมื่อทหารและตำรวจไม่สามารถรับมือภัยด้านความมั่นคงจากกลุ่มแบ่งแยกดินแดนมุสลิมได้ ย่อมมีแนวโน้มว่าประเทศไทยจะยังคงใช้กำลังทหารพรานและอาสาสมัครชาวบ้านต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ อย่างไรก็ดีรัฐบาลก็ควรจะดำเนินการดังต่อไปนี้

  • ทบทวนประสิทธิภาพของทหารพรานและกองกำลังอาสาสมัครทุกหน่วยเหล่า ซึ่งจะเป็นก้าวแรกในการจัดระเบียบหน่วยงานความมั่นคงทั้งระบบ
     
  • ให้การฝึกอบรมเพิ่มเติมกับทหารพรานในประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับการทหารและสิทธิมนุษยชนและกำกับดูแลทหารพรานให้ดีขึ้นเพื่อปรับปรุงระเบียบวินัยและลดการใช้อำนาจในทางมิชอบ
     
  • ดำเนินการเพื่อลด ปลดอาวุธ และยุบกองกำลังอาสาสมัครชาวบ้านทั้งหลายซึ่งแทบจะไม่มีประโยชน์ในการรักษาความมั่นคง
     
  • ควบคุมอาวุธปืนและการออกใบอนุญาตการครอบครองและพกพาอาวุธปืนให้เข้มงวดขึ้น
     
  • สกัดกั้นการปฏิบัติงานของกองกำลังที่ก่อตั้งและดำเนินการเองโดยชาวบ้านซึ่งมีแนวโน้มที่น่าวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่ง กองกำลังอาสาสมัครชาวบ้านควรจะอยู่ภายในการควบคุมของรัฐ  และเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ไม่ควรกระทำการใดๆ ที่นอกเหนือขอบเขตหน้าที่
     
  • รัฐควรจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมุ่งเน้นความสนใจไปที่การพัฒนาทหารและตำรวจที่เป็นกองกำลังประจำให้มีความเข้มแข็งและมีความเป็นมืออาชีพมากกว่าที่จะติดอาวุธให้กับพลเรือนที่ขาดการฝึกอบรมทางทหารและอยู่ในสภาวะหวาดกลัว

จาการ์ต้า/บรัสเซลส์ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Executive Summary

Thailand’s increasing reliance on paramilitary forces and civilian militias is hindering efforts to tackle the insurgency in its majority Muslim southern provinces. A bewildering array of paramilitary organisations works alongside and often in parallel to the regular military and police. There are advantages to using irregular forces. They are quicker and cheaper to train and deploy and tend to have more flexible command structures. Locally recruited volunteers have better local knowledge than troops brought in from outside. But they are also inadequately trained and equipped, confuse already difficult command and control arrangements and appear in some cases to make communal tensions worse. While paramilitaries are likely to continue to be deployed in the South, the government should move toward consolidating security arrangements and, in the longer term, concentrate on improving its regular security forces.

Paramilitary organisations and village militias have played significant roles in policing and counter-insurgency throughout Thai history, particularly against communist and separatist guerrillas during the 1970s and 1980s. Over the last decade, these forces have taken on new roles, from controlling refugee camps on the border with Myanmar/ Burma to prosecuting the “war on drugs” in 2003. But the most significant expansion has been for the suppression of separatist violence in the South.

The army has tripled the strength of the paramilitary “ranger” force (Thahan Phran) in the South since violence surged in 2004, despite its well-deserved reputation for brutality and corruption. It has made some reforms, particularly in screening recruits, since the 1980s and on the whole is a more professional force than twenty years ago, but serious problems with discipline and human rights abuses remain.

The military’s key rationale for recruiting new ranger units in the South was to create a local force familiar with the terrain, language and culture. In practice, however, no more than 30 per cent of new recruits are local Malay Muslims. The overwhelming majority of southern Muslims continue to fear and mistrust the rangers. Several suspected extrajudicial killings in 2007 have confirmed their suspicions and played into the hands of militant propagandists. Insurgents are also believed to have carried out attacks dressed in ranger uniforms, in order to whip up anti-state sentiment.

The interior ministry has its own paramilitary force, the Or Sor (Volunteer Defence Corps). Known to be fiercely loyal to its ministry bosses, though less problematic than the rangers, it is widely viewed as the armed enforcer of the ministry’s district officers.

The largest armed force in the South – after a massive expansion in 2004-2005 – is a civilian militia, the Village Defence Volunteers (Chor Ror Bor). Though senior government and military officials have questioned their effectiveness, the Chor Ror Bor still constitute the main form of security in most villages. Poorly trained, isolated and vulnerable, they are often unable to protect themselves and their weapons, let alone their communities. Militants have stolen the guns of hundreds since 2004. Some Chor Ror Bor have also turned their guns on fellow villagers when local security incidents have gone beyond control. Yet a plan was announced in July 2007 to recruit an additional 7,000 by the end of 2009.

Despite the evident problems with existing village militias, the Royal Aide-de-Camp department, under Queen Sirikit’s direction, established a parallel volunteer scheme, the Village Protection Force (Or Ror Bor) in September 2004. Its volunteers receive ten- to fifteen-days military training, an improvement on the Chor Ror Bor’s three days, but hardly adequate for confrontations with well-armed and organised militants. Unlike the Chor Ror Bor militia, whose make-up broadly reflects the demographic balance of the region, the Or Ror Bor is almost exclusively Buddhist, often stationed in temple compounds and tasked with protecting Buddhist communities.

The Buddhist minority in the South feels increasingly threatened. Muslim militants have attempted to drive Buddhists from several areas. Officials, civilians and even monks have been targeted in gruesome killings apparently designed to provoke retaliation. Many Buddhists, frustrated with the government’s failure to provide adequate protection, are taking matters into their own hands. Private militias are being established throughout the South, with varying degrees of official sanction and support.

The proliferation of poorly trained, loosely supervised militias in a volatile conflict in which civilians are the main victims confuses command and control arrangements, weakens accountability and heightens the risk of wider communal violence. However, the inability of the regular army to cope with the security threat posed by the Muslim separatist militants suggests that Thailand will continue to use paramilitaries for the foreseeable future. Nevertheless, the government should:

  • review the effectiveness of each paramilitary and militia force as the first step toward consolidating security arrangements;
     
  • provide additional military and humanitarian law training and supervision to the Thahan Phran “rangers”, to improve discipline and curb abuses;
     
  • work to phase out, disarm and disband the various village militias, whose impact on security is negligible;
     
  • tighten controls on guns and gun licenses;
     
  • prevent the operation of private sectarian militias, whose emergence is an extremely worrying trend, and bring their sponsors within the government and security forces into line; and
     
  • shift emphasis over time and concentrate on improving the professionalism and strength of its regular military and police rather than arming untrained and jumpy civilians.

 

Jakarta/Brussels, 23 October 2007

 

Subscribe to Crisis Group’s Email Updates

Receive the best source of conflict analysis right in your inbox.