Briefing / Asia 3 minutes

สภาวการณ์ชะงักงันในภาคใต้ของไทย

  • Share
  • บันทึก
  • พิมพ์
  • Download PDF Full Report

บทนำ

ปัญหาการก่อความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศกำลังอยู่ในสภาวการณ์ชะงักงัน แม้ว่าปฏิบัติการทางการทหารอาจจะมีส่วนที่ทำให้ระดับของความรุนแรงลดลงบ้าง  แต่รัฐบาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแทบจะไม่ได้จัดการกับเงื่อนไขทางการเมืองที่ผลักให้เกิดขบวนการต่อต้านรัฐไทยขึ้น  การประกาศหยุดปฏิบัติการความรุนแรงในพื้นที่จำกัดแบบฝ่ายเดียว (a limited unilateral suspension of hostilities)โดยกลุ่มก่อความไม่สงบไม่ได้รับการตอบสนองอย่างมีนัยสำคัญจากรัฐบาล  กฎหมายพิเศษที่ให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ความมั่นคงอย่างกว้างขวางก็ยังคงใช้บังคับอยู่เช่นเดิม ยังคงไม่มีการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมกับผู้เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงและการซ้อมทรมานผู้ต้องสงสัยก็ยังคงดำเนินต่อไป  ในขณะที่การชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลในกรุงเทพฯ ในช่วงต้นปี 2553 ได้ดึงดูดความสนใจของสาธารณชนไป  จำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุรุนแรงในภาคใต้ก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การก่อความไม่สงบปะทุขึ้นเมื่อกว่าหกปีที่ผ่านมา  ปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้ได้กลายเป็นประเด็นชายขอบของการเมืองไทยและยังอาจแก้ไขได้ การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการแก้ไขปัญหาเป็นสิ่งที่จำเป็น  รัฐบาลจะต้องตระหนักว่าความพยายามที่จะผนวกกลืนคนมลายูมุสลิมนั้นล้มเหลวและควรจะยอมรับว่าพวกเขามีอัตลักษณ์เฉพาะทางศาสนาและชาติพันธุ์ การพูดคุยกับกลุ่มก่อความไม่สงบและการปฏิรูปการบริหารราชการในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างจะเป็นสององค์ประกอบสำคัญในการแก้ไขปัญหาด้วยการเมือง

ระดับความรุนแรงในภาคใต้นั้นค่อนข้างคงที่ในช่วงสามปีที่ผ่านมา   กองกำลังทหารกว่า 30,000 นายยังคงปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ที่มีการก่อความรุนแรงในการโจมตีกองกำลังทหารตำรวจ  ครู  พระ  คนพุทธ รวมถึงคนมุสลิมที่ถูกมองว่าให้ความร่วมมือกับรัฐบาล   หลังจากปี 2551 ที่ความรุนแรงลดระดับลงอย่างสำคัญ  จำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงก็คงอยู่ที่ประมาณ 1,000 เหตุต่อปี  โดยในสิบเดือนแรกของปี 2553 มีผู้เสียชีวิต 368 คน   ปฏิบัติการทางการทหารเพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถที่จะหยุดความรุนแรงได้

 ในขณะที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ตระหนักว่าการแก้ปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้จะต้องแก้ด้วยการเมือง แต่คำพูดนั้นยังมิได้ปรากฎเป็นการกระทำที่ชัดเจนนัก  รัฐบาลยังไม่ได้ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินที่ประกาศใช้ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2548  ซ้ำร้ายไปกว่านั้น รัฐบาลกลับใช้กฎหมายพิเศษที่มีความรุนแรงฉบับนี้ในการปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลจังหวัดอื่นๆ รัฐบาลได้ปฏิเสธโอกาสในการเปิดเวทีพูดคุยกับขบวนการโดยเพิกเฉยต่อการที่ขบวนการก่อความไม่สงบสองกลุ่มได้ประกาศหยุดปฏิบัติการความรุนแรงในบางพื้นที่  แม้ว่าจะมีการเปิดพื้นที่ให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนระบบบริหารราชการในภาคใต้มากขึ้นกว่ารัฐบาลก่อนๆ  แต่รัฐบาลก็ยังไม่ได้พยายามอย่างจริงจังในการแสวงหารูปแบบการปกครองใหม่ที่เป็นไปได้ในกรอบของความเป็นรัฐเดี่ยว

รัฐบาลเตรียมการที่จะใช้ “ปฏิบัติการทางการเมือง” (political offensive) ใหม่ภายใต้พระราชบัญญัติความมั่นคงซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับการนิรโทษกรรม  โดยคาดหวังว่ามาตรการนี้จะสามารถดึงให้ผู้ที่อยู่ในขบวนการมามอบตัวและทำให้ขบวนการอ่อนแอลง  มาตรการนี้อนุญาตให้ทางการสามารถระงับการดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัยในคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคง โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากศาลด้วย  โดยผู้นั้นจะต้องเข้ารับการ “อบรบ” เป็นเวลาสูงสุดหกเดือน  คงต้องรอดูกันต่อไปว่ามาตรการนี้จะได้ผลหรือไม่  นักสิทธิมนุษยชนยังคงกังขาและเกรงว่าผู้ที่มามอบตัวจะถูกบังคับให้สารภาพผิดต่อความผิดที่ตนไม่ได้ก่อ พวกเขาเรียกการอบรมนี้ว่าเป็น “การควบคุมตัวด้วยคำสั่งของฝ่ายบริหาร” (administrative detention) อย่างไรก็ดี  มาตรการนี้เพียงอย่างเดียวไม่อาจที่จะแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ตราบใดที่บริบททางสังคมการเมืองที่เป็นปัญหาที่ใหญ่กว่ายังคงไม่ได้รับการแก้ไข

การซ้อมทรมานและการละเมิดในลักษณะอื่นๆ กับผู้ถูกควบคุมตัวยังคงเกิดขึ้น ในขณะที่การเรียกร้องความยุติธรรมต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ผ่านมายังคงไม่ได้รับเสียงตอบรับ  เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีความเห็นสั่งไม่ฟ้องอดีตทหารพรานซึ่งเป็นผู้ต้องสงสัยคดีการสังหารโหดในมัสยิดอัลฟุรกอนในปี 2552   กรณีแบบนี้ได้ตอกย้ำความเชื่อที่ว่าคนกระทำผิดไม่ต้องถูกลงโทษ นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับคำอธิบายของขบวนการว่าการปกครองของรัฐไทยนั้นอยุติธรรมและเป็นการผลักให้คนเข้าสู่ขบวนการและจับอาวุธลุกขึ้นสู้กับรัฐไทยมากขึ้น

จนกว่าที่เสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลไทยจะกลับคืนมา ปัญหาการก่อความไม่สงบในภาคใต้ก็จะยังคงเป็นประเด็นชายขอบในวาระของรัฐบาล  แต่อย่างไรก็ดี รัฐบาลจำเป็นจะต้องเตรียมพร้อมที่จะตอบสนองต่อท่าทีในอนาคตของขบวนการและวางพื้นฐานทางการเมืองสำหรับข้อตกลงจากการเจรจาที่อาจจะเกิดขึ้น  ในพื้นที่อื่นๆ ที่เผชิญกับขบวนการแบ่งแยกดินแดน  การเจรจาเป็นส่วนประกอบสำคัญของแนวทางที่นำไปสู่การยุติความขัดแย้งและไม่จำเป็นที่จะต้องนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดนอย่างที่รัฐบาลไทยรู้สึกหวาดกลัวมาโดยตลอด  

ในขณะที่โอกาสที่แต่ละฝ่ายจะได้รับชัยชนะทางการทหารเป็นไปได้ยาก   ขบวนการเองก็ควรที่จะพิจารณายุทธศาสตร์ทางการเมืองใหม่  ตัวแทนของขบวนการควรจะมีข้อเสนอทางการเมืองอย่างรอบด้าน นอกเหนือจากการต่อสู้ด้วยความรุนแรง  พวกเขาควรที่จะเตรียมพร้อมในการเสนอข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเมื่อโอกาสในการพูดคุยมาถึง  

รายงานฉบับนี้นำเสนอบทวิเคราะห์สถานการณ์การก่อความไม่สงบในภาคใต้ในช่วงปีที่สองของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิจัยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงตุลาคม 2553  ซึ่งได้มีการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ในภาคใต้ด้วย

กรุงเทพฯ/บรัสเซลล์, 3 พฤศจิกายน 2553

Overview

The deadly conflict in Thailand’s predominantly Malay Muslim South is at a stalemate. Although military operations might have contributed to the reduction in violence, the government of Prime Minister Abhisit Vejjajiva has made little effort to tackle the political grievances that drive the insurgency. A limited unilateral suspension of hostilities offered by rebels has met no significant response. Draconian laws that grant security forces sweeping powers remain imposed while justice for serious cases of past abuse remains unaddressed and torture of suspects continues. As bloody anti-government protests in Bangkok distracted the nation in early 2010, the death toll in the six-year-long insurgency steadily climbed. The conflict in the Deep South remains on the margins of Thai politics and unresolved. A paradigm shift is needed to acknowledge that assimilation of Malay Muslims has failed and that recognition of their distinct ethno-religious identity is essential. Dialogue with insurgents and reform of governance structures remain two missing components of a comprehensive political solution.

The level of violence in the Deep South has largely been steady for the past three years. Some 30,000 troops are deployed in the insurgency-hit region where Malay Muslim insurgents have continued to attack security forces, government teachers, Buddhists and Muslims perceived to side with the government. Since a significant drop in 2008, the tempo of violence has been around 1,000 attacks per year with 368 deaths recorded in the first ten months of 2010. Military operations alone are unable to end the violence.

While the Abhisit government has recognised that political solutions are necessary to end the conflict, words have not been matched by actions. It has failed to lift the state of emergency in the three southernmost provinces imposed since 2005. Worse still, the draconian law has been extended to control anti-government protestors in other provinces. The government has dismissed a chance to move towards peace dialogues by giving a lukewarm reception to a mid-year limited suspension of hostilities declared unilaterally by two insurgent groups. Although there has been greater space for public discussion on administrative reform than under previous governments, no serious attempt has been made to explore possible models within the principle of a unitary Thai state.

The government is planning to launch a new “political offensive” by implementing a quasi-amnesty policy under the Internal Security Act, hoping it will entice militants to surrender and weaken the movement. The provision allows the authorities, with the consent of a court, to drop criminal charges against suspected militants who, in turn, will be required to undergo up to six months of “training”, a euphemism for reverse indoctrination. It remains to be seen whether the policy will succeed. Human rights advocates are sceptical, fearing suspects could be forced to confess to crimes that they did not commit and calling the training “administrative detention”. Nevertheless, the quasi-amnesty measure alone is unlikely to be a lasting solution as long as larger socio-political grievances remain unaddressed.

Physical abuse and torture of detainees continue, while demands for justice for past abuses remain unanswered. Police dropped charges against a former ranger alleged to be involved in the 2009 Al-Furqan mosque attack. This reinforces perceptions of impunity and the insurgency’s narrative of the unjust rule, while aiding recruitment of those willing to take up arms against the Buddhist Thai state.

Until political stability in Bangkok is restored, the insurgency will remain at the periphery of the government agenda. But the government needs to be better prepared to respond to future gestures by the insurgents and lay the political groundwork for a negotiated settlement. In other separatist conflicts, negotiations have proven an effective means to end violence and do not necessarily lead to secession, as Bangkok has long feared. As part of an effort to scale down the presence of troops, the government should plan to increase the numbers of police officers and civilian defence volunteers as well as enhance their capacity to provide security.

With no military victory in sight for either side, the rebels must also consider new political strategies. Their representatives must propose comprehensive political solutions. Beyond protesting through violence, they should get ready to make concrete demands at a time when an opportunity for talks arises.

Based on research carried out between February and October 2010, including interviews in the Deep South, this briefing provides an update of analysis of the southern insurgency in the second year of the Abhisit administration.

Bangkok/Brussels, 3 November 2010

Subscribe to Crisis Group’s Email Updates

Receive the best source of conflict analysis right in your inbox.