Report / Asia 3 minutes

เส้นทางสู่ขบวนการต่อสู้ในชายแดนภาคใต้

  • Share
  • บันทึก
  • พิมพ์
  • Download PDF Full Report

บทคัดย่อ

ในขณะที่ผู้นำของไทยกำลังวุ่นวายกับการแก้ไขปัญหาทางการเมืองในกรุงเทพฯ การคัดเลือกสมาชิกเข้าสู่ขบวนการก่อความไม่สงบในภาคใต้ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม  สถาบันการศึกษาเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์คนมลายูมุสลิม นักเรียนจำนวนหนึ่งเห็นด้วยกับแนวคิดการจับอาวุธขึ้นสู้กับรัฐซึ่งการต่อสู้นี้ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการญิฮาดสากล  แต่ทว่าเป็นกลุ่มกบฏชาติพันธุ์นิยมที่มีประวัติศาสตร์เป็นของตนเองและต้องการเรียกร้องการกลับคืนมาของอาณาจักรปาตานีอันรุ่งเรืองในอดีต  การขยายตัวของความคิดในการแบ่งแยกดินแดนส่วนหนึ่งเป็นผลจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐและเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจของไทย  นอกจากนี้นโยบายการรวบอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินไว้ที่ศูนย์กลางก็เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งต่อการแก้ปัญหาในระดับท้องถิ่น   รัฐบาลควรจะเปลี่ยนแปลงนโยบายและวิถีปฏิบัติเช่นนี้พร้อมกับการขจัดความคับแค้นใจต่อความไม่เป็นธรรมออกไปจากความรู้สึกของคนมลายูมุสลิมเพื่อสร้างสันติภาพอันถาวรให้เกิดขึ้นในพื้นที่

ระบบการศึกษาในภาคใต้นั้นค่อนข้างซับซ้อน มีตั้งแต่โรงเรียนรัฐ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ไปจนถึงโรงเรียนปอเนาะดั้งเดิมซึ่งเป็นโรงเรียนกินนอนขนาดเล็ก ขบวนการได้แฝงตัวเข้าไปดำเนินกิจกรรมชักชวนเยาวชนมุสลิมเข้าเป็นสมาชิกและปลูกฝังอุดมการณ์ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามซึ่งเป็นโรงเรียนมีขนาดใหญ่ทันสมัยและพรั่งพร้อม  ห้องเรียนเป็นสถานที่แรกของเส้นทางการเข้าสู่ขบวนการ   ผู้ที่ทำหน้าที่หาสมาชิกใหม่จะชักชวนให้นักเรียนที่มีแวว ได้แก่บุคคลที่มีความเคร่งครัดในศาสนา มีความรู้สึกเจ็บแค้นกับประวัติศาสตร์ของการถูกกดขี่และการถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมรวมถึงมีความคิดในการทำสงครามญิฮาดไปร่วมการอบรม  การปลูกฝังแนวคิดอาจจะดำเนินการในมัสยิดหรือแฝงตัวในรูปของการฝึกฟุตบอล  เมื่อตกลงเข้าเป็นสมาชิกแล้วสมาชิกใหม่จะต้องทำการสาบานตนและเข้าฝึกร่างกายและอาวุธก่อนที่จะได้รับการมอบหมายให้ปฏิบัติการในระดับหมู่บ้าน

โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามไม่ได้เป็นสถานที่เพียงแห่งเดียวที่ถูกใช้ในการปลูกฝังอุดมการณ์ของเยาวชนมลายูมุสลิมและไม่ใช่ว่าทุกโรงเรียนจะถูกใช้ในการบ่มเพาะการต่อต้านรัฐ  แม้แต่ในโรงเรียนที่ถูกใช้ในดำเนินกิจกรรมของขบวนการก็ใช่ว่าผู้บริหารโรงเรียนครูและนักเรียนทั้งหมดจะรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น ยังมิต้องพูดถึงประเด็นที่ว่าจะเห็นด้วยกับวิธีการเช่นนี้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม โรงเรียนเป็นสถานที่ที่เหมาะกับการหาสมาชิกใหม่เพราะจำนวนนักเรียนที่มากถูกใช้เป็นเกราะกำบังให้กับขบวนการซึ่งมีครูเป็นส่วนสำคัญในการหาสมาชิก

เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของไทยและนักวิเคราะห์อิสระบางคนเชื่อว่ากลุ่มบีอาร์เอ็น-โคออร์ดิเนทเป็นแกนหลักของขบวนการก่อความไม่สงบ โดยดำเนินการแบบหน่วยอิสระ สมาชิกระดับล่างไม่รู้ถึงองค์กรใหญ่ที่อยู่เหนือกลุ่มที่ตนเองร่วมปฏิบัติการอยู่  ขบวนการนี้ดูจะมีความเป็นอิสระในการดำเนินงานค่อนข้างสูง โดยสมาชิกในแต่ละพื้นที่สามารถที่จะเลือกเป้าหมายและดำเนินงานทางการเมืองของตัวเอง  โครงสร้างเช่นนี้ทำให้ขบวนการยังคงเคลื่อนไหวต่อไปได้แม้ว่าเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจจะพยายามทำลายเครือข่ายเหล่านี้

ผู้กำหนดนโยบายควรที่จะระมัดระวังการใช้วิธีแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนกับสถานการณ์ความขัดแย้งที่มีความซับซ้อนสูง   ทั้งชาวพุทธและมุสลิมต่างก็เป็นเหยื่อในการต่อสู้ที่ถูกมองว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างรัฐไทยพุทธกับกบฏมลายูมุสลิม  มีผู้เสียชีวิตกว่า 3,400 คนนับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาและเหยื่อที่เสียชีวิตเป็นคนมุสลิมมากกว่าคนพุทธ คนมุสลิมหลายคนในจำนวนนั้นก็ถูกมองว่าเป็นผู้ทรยศต่ออิสลาม  กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบได้ใช้การสาบานตนในการควบคุมสมาชิกในขบวนการซึ่งเป็นความคิดท้องถิ่นที่นักรบญิฮาดสากลปฏิเสธ   ขบวนการใช้เวทมนตร์คาถาในการปกป้องนักรบจากภยันตรายแต่ในขณะเดียวกันก็มีการเผยแพร่วีดีโอคลิปทางเวบไซต์ยูทูบและวีซีดี การปฏิบัติการส่วนใหญ่ของขบวนการก็ยังคงจำกัดอยู่ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของไทยแม้ว่าจะมีการใช้อินเตอร์เน็ทเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานเผยแพร่ความคิด

ไครซิสกรุ๊ปได้เคยกล่าวก่อนหน้านี้ว่าขบวนการนี้แทบจะไม่มีร่องรอยอิทธิพลจากอุดมการณ์ซาลาฟีญิฮาด (salafi jihadism) ซึ่งเป็นฐานคิดของกลุ่มอัล-เคดาและกลุ่มเจมาห์ อิสลามิยาห์  ผู้ก่อความไม่สงบบางส่วนนับถือแนวคิดชาฟีอีในสายที่เชื่อเรื่องเวทมนตร์คาถาและไม่นิยมแนวคิดแบบบริสุทธิ์ที่พวกเขาเรียกว่า “วะฮาบี”  แม้ว่าจะมีชาวมาเลเซียจำนวนหนึ่งถูกจับกุมในภาคใต้ในขณะที่จะเข้ามาร่วมการต่อสู้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่ามีกลุ่มญิฮาดจากนอกประเทศเข้ามาร่วมในขบวนการต่อสู้ในภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด   และถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในเชิงอุดมการณ์กับแนวคิดซาลาฟีญิฮาด  ขบวนการก็ได้ใช้ภาษาทางศาสนาและญิฮาดในการอธิบายการต่อสู้เพราะญิฮาดเป็นภาษาที่ทรงพลังในหมู่สมาชิกและฐานมวลชนที่พวกเขาต้องการที่จะเข้าไปมีอิทธิพลทางความคิด

แม้ว่าการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างรัฐบาลกับผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรจะยังคงดำเนินต่อไป (ซึ่งก็นับเป็นความรุนแรงเช่นกัน)  ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องดำเนินการลดเงื่อนไขทางการเมืองที่เติมเชื้อไฟให้กับการต่อต้าน  ซึ่งได้แก่การไม่เคารพต่ออัตลักษณ์และภาษาของชาวมลายูมุสลิม การไม่รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการขาดตัวแทนของพวกเขาในโครงสร้างการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและรัฐบาล  หากปราศจากมาตรการเหล่านี้แล้ว การปราบปรามที่รุนแรงหรือความพยายามที่จะปลูกฝังความคิดชาตินิยมแบบไทยในหมู่คนมลายูมุสลิมผ่านกระบวนการอบรมความคิดความเชื่อก็รังแต่จะสร้างความโกรธแค้นให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นและเป็นเงื่อนไขให้เกิดนักต่อสู้รุ่นใหม่เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ และหล่อเลี้ยงให้ความขัดแย้งยืดเยื้อยาวนาน

กรุงเทพฯ/ บรัสเซลส์ 22 มิถุนายน 2552

Executive Summary

While Thai leaders are preoccupied with turmoil in Bangkok, the insurgency in the South continues to recruit young Malay Muslims, especially from private Islamic schools. These institutions are central to maintenance of Malay Muslim identity, and many students are receptive to the call to take up arms against the state. This is not a struggle in solidarity with global jihad, rather an ethno-nationalist insurgency with its own version of history aimed at reclaiming what was once the independent sultanate of Patani. Human rights abuses by the Thai government and security forces have only fuelled this secessionist fervour, and policies that centralise power in the capital have undermined a regional political solution. Changing these policies and practices is essential as the government tries to respond to the insurgents’ grievances in order to bring long-lasting peace to the region.

The Islamic schools in which pious young Muslims are recruited and radicalised are generally the larger, more modern and better-equipped institutions in a complex educational system that ranges from secular state school to traditional Muslim boarding schools (ponoh). The classroom is the point of first contact. Recruiters invite those who seem promising – devout Muslims of good character who are moved by a history of oppression, mistreatment and the idea of armed jihad – to join extracurricular indoctrination programs in mosques or disguised as football training. As recruits are drawn into the movement, they take an oath of allegiance followed by physical and military training before being assigned to different roles in village-level operations.

Islamic schools are not the only place where young Malay Muslims are radicalised, nor should all such schools be stigmatised as militant breeding grounds. Even in schools where insurgents are active, not all school administrators, teachers and students may be aware of what is happening, let alone consent to it. But these schools are rich in opportunities for recruiters. Religious young males – the natural foot soldiers of the insurgency – are found in academies numbering thousands of students. These crowds provide natural cover, especially for a movement that draws heavily upon teachers to do its covert recruitment.

The Thai security forces and some independent analysts believe that the insurgency is largely under the leadership of the National Revolutionary Front-Coordinate (Barisan Revolusi Nasional-Coordinate, BRN-C). It uses a classic clandestine cell network, in which rank-and-file members have no knowledge of the organisation beyond their immediate operational cluster. It also appears to be highly decentralised, with local units having a degree of autonomy to choose targets and carry out political campaigns. This structure has allowed it to remain active despite crackdowns by security forces.

Policymakers should be cautious of quick fixes to what is a highly complex conflict. This struggle, nominally between a Thai Buddhist state and a Malay Muslim insurgency, targets civilians of all religions. More than 3,400 people have been killed since the violence surged in 2004. There are more dead Muslim victims than Buddhists, and many of the slain Muslims were marked as “traitors” to Islam. Insurgents draw on local culture to invoke traditional oaths to discipline their own ranks, though such practices alienate them from the religious purists attached to the global jihad. Ancient charms and spells are applied to protect fighters from harm, co-existing with YouTube videos and propaganda circulated on VCDs. Despite the leap into cyberspace, the insurgency has, for the most part, restricted itself to the geographic boundaries of the three southernmost border provinces.

As earlier Crisis Group reports have stressed, the movement shows little influence of Salafi jihadism, the ideology followed by al-Qaeda and the Indonesia-based regional jihadi group Jemaah Islamiyah. Some insurgents follow a mystical variant of Shafi‘i Islam and are actively hostile to the puritanism of what they term “Wahhabis”. Although a few Malaysians have been arrested in southern Thailand for trying to join the struggle, there is no evidence of significant involvement of foreign jihadi groups. While politically distinct, the movement uses the language of Islam and jihad to frame its struggle, as such words resonate with its membership and the constituencies it seeks to sway.

Even as the political battle between the government and supporters of ousted former Prime Minister Thaksin Shinawatra – in itself violent – plays out in the capital, Thailand needs to address the political grievances that have long fuelled resentment: the disregard for Malay ethnic identity and language, the lack of account­ability for human rights abuses, and the under-representation of Malay Muslims in local political and government structures. Without such measures, harsh suppression and attempts at instilling Thai nationalism in Malay Muslim radicals through re-education will only generate more anger that will in turn ensure a steady flow of recruits committed to an enduring struggle.

Bangkok/Brussels, 22 June 2009

Subscribe to Crisis Group’s Email Updates

Receive the best source of conflict analysis right in your inbox.