Report / Asia 3 minutes

แสวงหาสันติภาพ : อาเซียนกับกรณีพิพาทชายแดนไทย – กัมพูชา

  • Share
  • บันทึก
  • พิมพ์
  • Download PDF Full Report

บทสรุป

กรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคนและอีกหลายพันคนต้องอพยพ ถือเป็นความท้าทายสำหรับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในการพิสูจน์ว่าจะสามารถทำโวหารเรื่องการสร้างสันติภาพและความมั่นคงให้ปรากฎเป็นจริงได้หรือไม่ 

กัมพูชาดำเนินการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ในช่วงที่ประเทศไทยประสบกับความวุ่นวายทางการเมืองภายหลังการรัฐประหารเพื่อโค่นล้มนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรในปี 2549 ฝ่ายที่สนับสนุนกลุ่มชนชั้นนำในประเทศไทยใช้ประเด็นนี้ในการจุดกระแสชาตินิยมเพื่อต่อต้านกัมพูชา โดยมีเป้าหมายเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มีอดีตนายกฯ ทักษิณให้การสนับสนุน

การเคลื่อนไหวอย่างดุเดือดส่งผลให้การเจรจาในเรื่องเขตแดนต้องหยุดชะงัก และความขัดแย้งระหว่างสองประเทศปะทุขึ้น ในช่วงต้นปี 2554 เกิดการสู้รบซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุดระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ท้าทายหลักการที่องค์กรยึดมั่นมายาวนานในเรื่องการไม่รุกรานซึ่งกันและกัน (non-aggression) ผลักให้อาเซียนต้องเข้าไปมีบทบาท  และมีความคาดหวังว่าอาเซียนจะสามารถผลักดันให้เกิดสันติภาพขึ้นได้ แม้ว่าอาเซียนจะมีบทบาทที่ถือได้ว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ แต่ยังไม่เกิดผลสัมฤทธิที่มีนัยสำคัญ จำเป็นที่การดำเนินการทางการทูตต้องมีความจริงจังและแสดงภาวะผู้นำที่เข้มแข็งกว่านี้ความขัดแย้งที่ปะทุขึ้นหลังความสงบดำเนินอย่างต่อเนื่องมาเกือบห้าสิบปี เกี่ยวข้องกับสองเรื่องสำคัญ คือ หนึ่ง ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเสื้อเหลืองที่สนับสนุนฝ่ายชนชั้นนำกับฝ่ายเสื้อแดงซึ่งสนับสนุนอดีตนายกฯ ทักษิณ ซึ่งถูกโค่นจากตำแหน่งในเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549  และสอง การที่กัมพูชาตัดสินใจขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งได้รับการอนุมัติจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ในเดือนกรกฏาคม 2554  

การขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้สำเร็จนับเป็นวาระแห่งการเฉลิมฉลองและความภาคภูมิใจของชาวกัมพูชา   แต่ในประเทศไทย กลุ่มชาตินิยมสุดขั้วอย่างกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) หรือที่เรียกว่ากลุ่มเสื้อเหลืองหยิบยกประเด็นนี้มาโจมตีรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งถูกเรียกว่า “หุ่นเชิด” ของอดีตนายกฯ ทักษิณว่าขายชาติ  ในมุมมองของกลุ่ม พธม.ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจให้กับอดีตนายกฯ ทักษิณ ประเด็นดังกล่าวกลายเป็นอาวุธอันทรงพลังในการเคลื่อนไหวและกดดันให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศต้องตัดสินใจลาออก พร้อมกับเป็นการสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาลอย่างรุนแรง  ก่อนการเคลื่อนไหวของพธม. การขึ้นทะเบียนมรดกโลกถูกมองว่าเป็นโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกันที่จะสร้างรายได้มูลค่ามหาศาล

หลังจากนั้น เกิดความตึงเครียดเพิ่มขึ้นบริเวณชายแดน มีการเพิ่มกำลังทหารประจำการในพื้นที่ดังกล่าว การสำรวจเพื่อปักปันเขตแดนต้องหยุดชะงักเพราะเหตุผลเรื่องความปลอดภัยในการลงสำรวจพื้นที่ ขณะเดียวกัน  ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยส่งผลให้มีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและข้าราชการระดับสูงหลายครั้ง เกิดการฟ้องร้องดำเนินคดีโดยกลุ่มชาตินิยม  คำตัดสินของศาลเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง อีกทั้งบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญบางมาตรากลายเป็นอุปสรรคต่อการเจรจาและส่งผลลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง   นายกรัฐมนตรีฮุนเซนแห่งกัมพูชาไม่พอใจอย่างมากต่อความล่าช้าและเพิกเฉยของฝ่ายไทยและได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์หลายครั้งในเรื่องนี้ รวมทั้งมีการแต่งตั้งอดีตนายกฯ ทักษิณเป็นที่ปรึกษาส่วนตัว ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว นับได้ว่าเป็นจุดตกต่ำที่สุดในช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมีปัญหา

แม้จะมีสัญญาณเตือนถึงความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นระหว่างไทยกับกัมพูชาตั้งแต่ช่วงปี 2551-2553 แต่อาเซียนกลับมีท่าทีเฉื่อยชาต่อภารกิจในการสร้างสันติภาพ ภายหลังการสู้รบอย่างรุนแรงในปี  2554  คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้สร้างบรรทัดฐานใหม่ที่สำคัญคือการมีมติให้อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนเข้าดำเนินการในเรื่องนี้ แสดงให้เห็นว่าหากประธานอาเซียนมีภาวะผู้นำและความกระตือรือร้นอย่างเพียงพอก็สามารถมีบทบาทที่ช่วยคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งให้ผ่อนคลายลง  ซึ่งจะเห็นว่าที่ประชุมอาเซียนประสบความสำเร็จในการผลักดันให้ไทยและกัมพูชาเห็นชอบกับการส่งผู้สังเกตการณ์ชาวอินโดนีเซียไปยังพื้นที่พิพาทเพื่อเฝ้าสังเกตการหยุดยิง

 อย่างไรก็ตาม แม้ฝ่ายกัมพูชาจะลงนามเห็นชอบกับการส่งผู้สังเกตการณ์ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แต่อินโดนีเซียจะไม่ส่งทีมดังกล่าวมายังพื้นที่พิพาทจนกว่าจะได้รับความยินยอมจากทั้งสองฝ่าย ส่วนรัฐบาลไทย แม้จะเห็นชอบกับเรื่องดังกล่าวในที่ประชุมอาเซียน แต่กลับนิ่งเฉยในเวลาต่อมาเนื่องจากกองทัพแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยโดยอ้างเหตุผลว่าการกระทำดังกล่าวจะส่งผลต่ออธิปไตยไทย สะท้อนให้เห็นว่าการต่อสู้ทางอำนาจระหว่างรัฐบาลพลเรือนกับกองทัพหลังการรัฐประหารยังคงดำเนินอยู่ การเลือกตั้งที่ทำให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนกรกฎาคมสร้างความคาดหวังว่าจะเป็นจุดเปลี่ยน แต่ก็มิได้เป็นเช่นนั้น คำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่อาจทลายอุปสรรคทางการเมืองลงได้

ต่อมาในเดือนตุลาคม  เกิดปัญหาอุทกภัยอย่างรุนแรงขึ้นในประเทศไทย  รัฐบาลต้องทุ่มเทเวลาอย่างมากในการจัดการปัญหาเฉพาะหน้า    และเมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายลงประเทศไทยและกัมพูชาจำเป็นต้องเร่งดำเนินการตามคำสั่งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศโดยเร็วที่สุด

ตั้งแต่ต้นปี 2554 เป้าหมายหลักของอาเซียนในการเข้ามามีบทบาทในกรณีพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา คือการยุติการสู้รบและเปิดการเจรจาครั้งใหม่ แม้ว่าการปะทะกันของสองฝ่ายจะสงบลงตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา  แต่การหยุดยิงยังคงเป็นเพียงสัญญาปากเปล่า  ความขัดแย้งนี้ยังคงไม่จบตราบจนกระทั่งทั้งสองประเทศได้ถอนทหารและการเจรจาเริ่มต้นขึ้นอีกครั้งหนึ่ง  ในการยุติข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา  อาเซียนภายใต้การนำของอินโดนีเซียได้วางแนวทางสำหรับการจัดการปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต   หากอาเซียนต้องการทำหน้าที่ในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคดังที่ได้ตั้งเจตนารมณ์ไว้  เมื่อสัญญาณของความขัดแย้งก่อตัวขึ้นอาเซียนจะต้องใช้กลไกที่มีอยู่ในการดำเนินการอย่างทันท่วงที เมื่อสัญญาณของความขัดแย้งได้ก่อตัวขึ้น และไม่ควรที่จะฝากความหวังไว้ที่ประธานอาเซียนแต่เพียงผู้เดียว  ข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชายังคงเป็นความท้าทายที่ยังไม่จบสิ้น   อาเซียนจะต้องทำให้พื้นที่ชายแดนที่เคยมีการสู้รบเกิดสันติภาพอย่างยั่งยืน  หากอาเซียนต้องการที่จะสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในภูมิภาคอย่างแท้จริง

Executive Summary

Border clashes between Thailand and Cambodia that caused dozens of casualties and displaced thousands have challenged the Association of South East Asian Nations (ASEAN) to finally turn its rhetoric on peace and security into action. Cambodia’s successful attempt to list the Preah Vihear temple as a World Heritage Site came against the backdrop of turmoil in Thai politics after the 2006 coup that deposed Prime Minister Thaksin Shinawatra. Thai pro-establishment movements used this issue to whip up nationalist sentiments against Cambodia as they tried to topple the Thaksin-backed government. The emotionally-charged campaigns halted border demarcation and sparked a bilateral conflict. In early 2011, the dispute turned into the most violent clash yet between ASEAN’s members, testing its historical commitment to non-aggression and prompting it to get involved. This has raised expectations that it might live up to its stated aspiration to keep peace in its own region. As yet, however, while its engagement set important precedents, it has no significant achievements. More robust diplomacy and leadership are still needed.

The resurgence of a largely forgotten 50-year dispute into an active armed conflict was related to two events: the colour-coded struggle in Thailand between the pro-establishment “Yellow Shirts” and the pro-Thaksin “Red Shirts” sparked after Thaksin’s ouster in the September 2006 coup; and the decision of Cambodia to register Preah Vihear as a World Heritage Site, which UNESCO accepted in July 2008. In Cambodia, the listing was occasion for national joy and Khmer pride. In Thailand, the ultra-nationalist Yellow Shirts used it to argue that Thaksin’s proxy administration led by Prime Minister Samak Sundaravej had sold out their motherland and committed treason. It became a powerful weapon to further their agenda, forcing the foreign minister to resign and destabilising the government. They successfully portrayed backing for the listing as a move to further Thaksin’s business interests, despite this policy having been supported by the previous military-installed administration. Until the Yellow Shirts’ attacks, bureaucrats on both sides had seen the listing as a mutual tourism bonanza.

The frontier became increasingly militarised and tense. Border survey and demarcation ground to a halt, as it became too dangerous to field joint teams. At the same time, political turmoil in Thailand led to a high turnover of foreign ministers and other senior officials. Nationalist lawsuits, controversial court rulings and constitutional provisions hamstrung the efforts of officials to negotiate and poisoned the bilateral relationship. Frustrated by this inaction and these obstructionist tactics, Cambodia’s prime minister, Hun Sen, often lashed out and on one occasion appointed Thaksin as an adviser – an episode that was the political low point of a troubled period.

Despite the warning signs between 2008 and 2010, passivity rather than active peacemaking was the “ASEAN way”. After the outbreak of hostilities in 2011, the UN Security Council set a precedent by referring the issue back to ASEAN and its then chair, Indonesia, which showed how energetic and bold leadership could bring the association closer to what [some of] its supporters wished it might be. ASEAN broke more new ground after both sides agreed to receive teams of Indonesian observers to monitor a ceasefire.

Thailand’s civilian leaders initially agreed to the deployment but backtracked after its military resisted, claiming the observers would undermine sovereignty, a sign that the post-coup struggle for power is unresolved. Cambodia approved them in May, but Indonesia would not dispatch its monitors until both sides signed on. The election of Yingluck Shinawatra as Thailand’s prime minister in July 2011 was expected to be a turning point, but was not. Even a ruling by the International Court of Justice (ICJ) that ordered the creation of a provisional demilitarised zone around the temple and called on ASEAN to monitor a troop withdrawal did not remove political obstacles. Then in October, Thailand was crippled by the worst flooding in living memory, leaving the government overwhelmed. With the waters now subsiding, Thailand and Cambodia need to recommit to complying with the ICJ decision as soon as possible.

ASEAN aimed to stop hostilities and restart negotiations when it took up the border issue in early 2011. While there has been no fighting on the border since May, the ceasefires in place are mostly verbal and unsigned. Until troops are verifiably withdrawn and diplomats resume negotiations, this conflict is not over. But in trying to resolve it, ASEAN, under Indonesia’s leadership, has laid out a methodology for dealing with future disputes. If it wants to fulfil its stated goal of taking responsibility for its own peace and security, it needs to use its existing mechanisms at the first sign of trouble and not just rely on an activist chair. The Thai-Cambodian conflict remains an active challenge for ASEAN, which must achieve a certifiable peace on this disputed border if it wishes to keep its own region secure in the future.

Bangkok/Jakarta/Brussels, 6 December 2011

 

Subscribe to Crisis Group’s Email Updates

Receive the best source of conflict analysis right in your inbox.